Friday, December 24, 2010

ศรัทธารา ๒๐๑๐

ศรัทธารา ๒๐๑๐
ศรัทธารา ๒๐๑๐
BUG Bangkok University Gallery

SOS: Sounding Out Creativity.
An Exhibiton by the Faculty of School of Fine and Applied Arts at Bangkok University Gallery (BUG)
29 Nov - 24 Dec 2010

ศรัทธารา ๒๐๑๐
ชีวิตสั้น สายธารยาว ความแย้งย้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำและปริมาณศรัทธา (อุทกภัย ประเทศไทย ปี ๒๐๑๐)

Sunday, October 24, 2010

Schrift in Form BIS

“Schrift in Form” BIS
19 AUG - 31 OCT 2010 part of Bangkok International Typographic Symposium 2010
Presented by Cadson Demak





สติ . Shift in Form . Bangkok

more photo at BITS Facebook

Tuesday, October 19, 2010

สติ / poster / type specimen

Schrift in Form Bis 2010
(Bangkok International Typographic Symposium 2010)

สติ . Shift in Form . Bangkok

poster specimen Kalatesa™
Poster Specimen KaLaTeSa™ (กาละเทศะ) typeface (ยังไม่จำหน่าย)

poster specimen KNOW™
Poster Specimen KNOW™ (โนว์) typeface Distributed at Cadson Demak

ได้รับโจทย์จากทาง คัดสรร ให้นำ Specimen ของฟอนต์ตัวเองที่มีอยู่
มาแสดงในงาน BITS ด้วย ซึ่งในงานนี้จะมี specimen ของนักออกแบบต่างชาติ
มาแสดงอยู่มากมาย แต่ขอเป็นฟอนต์ไทย จะได้เกิดความหลากหลายของงาน
เลยเลือกนำเสนอ 2 แบบตัวอักษร โดยตัดสินใจเลือกเพียงแค่
1. ขอแบบมีหัวก็แล้วกัน! 2. ขอไม่ละตินจนเกินไปละกัน!!

ส่วนเนื้อหาในโปสเตอร์เกิดจากการทำขณะภาวะกลางเมืองกำลังกรุ่น
รู้สึกได้ถึงความ 'สติแตก' และ 'ไร้สติ' ของคนไทยในเวลาขณะนั้น
จึงอยากให้มีคำว่า 'สติ' อยู่ในงาน หรืออย่างน้อยก็อยู่ในใจ

มาเล่า 2 เรื่องเกี่ยวกับความเป็นไทยที่เราต่างจากนักออกแบบคนอื่น
คือ เรามีกษัตริย์ จึงเลือกคำว่า สยามนุสสติ คำโคลงพระราชนิพนธ์
ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ทหารอาสา
สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๖๑

และอีกสิ่งต่างคือ เรามีศาสนาพุทธ จึงเลือกคำว่า ...สัมปชัญญะ
กับข้อความ อาตาปีสัมปะชาโนสติมา รู้ | ตัว | ทั่ว | พร้อม
เพื่ออยู่ใน โปสเตอร์ใบที่สอง

บวกกับประโยคภาษาอังกฤษในโปสเตอร์ทั้งสองที่พูดกับคนนอกชาติว่า
Understand the meaning word and reading ability are not the same.


Sunday, September 26, 2010

NoThai @SomewhereThai

SomewhereTHAI
at: BACC
date: ๒๕-๒๖/๐๙/ ๒๕๕๓
No.THAI



ตัวเลขไทยทำไมไม่...


ส่วนหนึ่งของการแสดงออกในงานออกแบบของไทย คือการใช้ตัวอักษรภาษาไทย

ซึ่งบางทีอาจจะเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้สำหรับนักออกแบบเพราะยังคงที่จะต้องการ

สื่อสารข้อมูลให้เข้าถึงกับผู้รับที่หลากหลาย การใช้ตัวอักษรไทยจึงมีความจำเป็น

อย่างหลีกเลี่ยงเสียไม่ได้


แต่เป็นสิ่งที่แตกต่างออกไปกับ "ตัวเลขไทย" เพราะตัวเลขมีหน้าที่ในการสื่อสาร "จำนวน "

ซึ่งไม่ได้มีความยาก ที่คนไทยจะรู้จัก เข้าใจและใช้ตัวเลข อารบิค มากันจนคุ้นชิน หรือ

บางคนอาจจะรู้จักตัวเลขอารบิคมากกว่าตัวเลขไทยเสียด้วยซ้ำ จึงทำให้หลายๆคน

เลือกใช้ตัวเลขอารบิคในการสื่อสารแทนตัวเลขไทย แม้ส่วนอื่นๆในงานออกแบบจะใช้ภาษาไทยก็ตาม


ไม่ว่าเหตุผลของการไม่เลือกใช้ จะเป็นการอ่านยากหรือไม่งามในความรู้สึกก็ตาม

แต่สิ่งที่อยากจะให้สังเกต ซึ่งจะเห็นได้ว่าวิวัฒนาการ การพัฒนาของแบบตัวเลขไทย

มีไปอย่างเนิบช้า ถ้าเปรียบเทียบกับแบบตัวอักษรไทย ยิ่งในยุคที่งานออกแบบกราฟิก

ถูกผลิตจากคอมพิวเตอร์ยิ่งเห็นระดับความต่างของการออกแบบตัวอักษรและ

ตัวเลขของไทย จึงอยากลองเสนอแบบตัวเลขไทยที่คิดว่าจะทำให้คนไทยหันกลับมาใช้

หรือพัฒนาหาแนวทางออกแบบกับตัวเลขไทยที่เข้ากับปัจจุบันสมัยกันมากขึ้น


(พร้อมให้โหลดเมื่อไหร่จะแจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน...อีกครั้ง)

Monday, September 13, 2010

3 9 3 6 9





ไม่ได้เข้าบล๊อกตัวเองซะนาน ผ่านมาเห็นตัวเลขคนผ่านเข้ามาเลขสวยดี ไม่มีความหมายอะไร :)













แล้วก็กลับไปเรื่อยเปื่อยและทำงานหนักอย่างสนุกสนานต่อ

Tuesday, July 27, 2010

Fast for words

Computer arts Thailand / no.14 / June 2010 / Output design showcase

Computer arts Thailand no.15 July 2010


คาดว่าหลายคนคงผ่านตากับโฆษณาชวนประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ของ
องค์กรชื่อยาวอย่าง สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ
เรียกสั้นๆ ว่า สสว. ในสื่อต่างๆ มาบ้างแล้ว

ไม่นานเกินหมากร่วงกับช่วงเวลา Computer Arts Thailand ฉบับนี้อยู่ในมือคุณ
ทาง สสว. ได้ประกาศผู้ชนะมาแล้ว คิดว่าใครที่ประกวดคงรู้ผลกันดีอยู่ ส่วนใครยังไม่รู้
อย่าเพิ่งฉงนจนหงายหลัง ผู้ชนะไม่ใช่คนไกลไร้ชื่อเสียงจากไหน เขาคือไทป์ดีไซเนอร์
และกราฟิกดีไซเนอร์ขยันคิด เอกลักษณ์ เพียรพนาเวช นั่นเอง



“ชื่อ สสว. คนน่าจะมีความคุ้นเคยอยู่ในระดับหนึ่งแล้ว ผมก็เลยเลือกไปที่โลโก้ไทป์
เพราะเป็นการทำให้ชื่อถูกจดจำได้ดีและเร็ว แต่โดยปกติแล้วโลโก้ไทป์อาจจะ
ไม่เหมาะนักกับการเป็นโลโก้ประกวด เพราะเป็นโลโก้ที่เน้นตัวอักษร คนทั่วไป
ยังไม่สามารถแยกแยะได้ว่ามันมีบุคลิกที่แตกต่าง แต่ส่วนตัวผมคิดว่ามันท้าทายดี”
เอกลักษณ์เริ่มเล่าให้เราฟังถึงประเด็นแรกที่ทำให้เขาโฟกัสไปที่การดีไซน์ตัวอักษร
คำว่า สสว. และ OSMEP (Office of Small and Medium Enterprises Promotion)

“ขั้นแรก ผมก็เลยมองภาพรวมๆ ดูเรื่องของน้ำหนัก ความหนา แล้วก็สิ่งที่จะพูดถึง
โดยเลือกลักษณะตัวอักษรแบบ slab serif ที่มีฐานที่เป็นเชิงหนา เพื่อให้รู้สึกถึง
ความมั่นคง มีรากฐานแข็งแรงขององค์กร เป็นที่พึ่งพาได้ของ SMEs แต่ผมก็จะ
ดีไซน์ลดเชิงฐานของมันให้เป็นกึ่ง semi นิดนึง คือถ้าตัวอักษรแบบนี้มีฐานเต็มปกติ
มันจะติดกลิ่นอายแนวคันทรี่ ทำให้ดูเก่า ซึ่งเท่าที่ศึกษาองค์กรณ์นี้ แนวคิด
ที่ดูทันสมัยของ สสว. อาจจะตรงกับบุคลิกมากกว่า ความยากอยู่ที่การทำให้คำว่า
สสว. และ OSMEP มีบุคลิกเดียวกัน เพราะภาษาไทยที่มีแค่ ส กับ ว แค่สามตัว
กับ OSMEP มีห้าตัวซึ่งแต่ล่ะตัวไม่เหมือนกันเลย ความยาวก็ไม่เท่า

“แต่โดยธรรมดาแล้วตัวไทป์อย่างเดียว มันยากต่อการจดจำของคนทั่วไป
ผมก็เลยเพิ่มสัญลักษณ์ง่ายๆ มาใช้ประกอบกับโลโก้ไทป์ ผมมองว่าสสว.
มีหน้าที่นำพา SMEs หลายๆ เจ้าแล้วพุ่งไปข้างหน้าด้วยกัน ก็เลยเลือกตัว
Fast Forward ที่เป็นรูปสามเหลี่ยมมาถอดฟอร์มให้เป็นเส้นออกแนวลูกศรสองอัน
ผมก็เอามาปรับให้มันมีความรู้สึกของความเป็นไทยอยู่บ้าง พอทำเป็นเส้นสองเส้น
มันก็จะคล้ายๆ กับการสานของปลาตะเพียน"

“ส่วนเรื่องสี โลโก้เดิมจะเป็นรูปธงชาติไทยซึ่งไม่ได้เลือกคู่สีไว้ชัดเจน ตอนประกวด
ผมเลือกเป็นเขียวกับน้ำตาล ที่เลือกสีเขียวใบตอง เพราะมันเป็นสีที่ค่อนข้างสดใส
และมีพลัง ต่อมาก็คิดว่าสีที่จะมาคู่ด้วยนั้นควรมีค่าน้ำหนักที่เข้มและชัด ก็เลยเลือก
สีน้ำตาล ที่โดยรวมจะดูมั่นคง แข็งแรง แต่พอชนะรางวัลแล้ว ก็มีการปรับเรื่องคู่สี
ด้วยความที่โลโก้ในการประกวดครั้งนี้จะถูกนำไปใช้จริง เขาก็ต้องมีการพูดคุยกัน
ในองค์กร ดูความเหมาะสมหลายๆ อย่าง และผมก็ได้พูดคุยรู้จักเค้ามากขึ้นก็เข้าไป
ปรับเลือกสีให้เป็นน้ำเงิน-เทา เน้นภาพลักษณ์ที่ดูทันสมัย ส่วนตัวฟอร์มโดยรวมแล้ว
เหมือนแบบที่ชนะประกวด” ไทป์ดีไซเนอร์ฝีมือเยี่ยมพูดถึงขั้นตอนในการออกแบบ
โลโก้มีรางวัลตัวนี้

ตอนท้ายเราถามเขา “คิดว่าอะไรทำให้โลโก้ไทป์ตัวนี้ชนะการประกวด” เขายิ้ม
ก่อนพูดติดตลกสั้นๆ ว่า “อันนี้ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน สงสัยต้องถามกรรมการ”
หลังจากนั้นเรากับเขาก็หัวเราะสั่งลา

Computer arts Thailand no.14 June 2010

Tuesday, July 6, 2010

Knight Sans™ for T26

ตะกี้เขียนถึง สยาม สงบ สุข นึกถึงอีกอันที่ตอนทำตอนนั้น เหตุการณ์บ้านเมืองกำลังพีคได้ที่เลย
เป็นตัวอย่างพรีเซนท์ฟอนต์ Knight Sans™ สำหรับ t26.com ในส่วน Billboard เพื่อโชว์ในเวปนั้น
แต่ไม่เห็นจะเอาลงให้เลย เกือบลืมไปแล้วนะเนี้ย

KnightSans™T26

Knight Sans™ | designed by Ekaluck Peanpanawate
distributed at T26.com and Myfonts

เลือกซื้อได้ตามสะดวก ถ้า Myfonts จะได้ตังค์เลย แต่ t26 ต้องรอครบปี :)

Know™ again

ตัวพิมพ์ไทย โนว์ (Know) กลับมาอีกครั้ง กับน้ำหนัก หนามาก (ฺKnow™Black) ที่เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่ง
เลยถึอโอกาสทำเพลทใหม่เองเลย คราวที่แล้วรบกวนน้องๆที่คัดสรรช่วยทำตัวอย่างโชว์ในเวปให้
ตอนนั้นน้ำหนัก โบลด์ ก็ยังไม่เสร็จดี เป็น บวม โชว์อยู่มาตั้งนาน ได้ทีจังหวะดีเพิ่มนำ้หนักขึ้นมา
จะได้เป็นโบลด์ และ แบล็ก อย่างใจจริงๆกะเค้าซะที :)

ระหว่างพิมพ์ๆคำ รู้สึกจะฟังข่าวจากทีวีเหตุบ้านการเมืองช่วงก่อนเยอะไปนิด
อยู่ก็อยากพิมพ์คำว่า "สยาม•สงบ" ขึ้นมาซะงั้น


Know™ 3 weights

Know™ Thai typeface | 3 weights (regular, bold, black)
designed by Ekaluck Peanpanawate


Monday, May 31, 2010

NEWTYPE @ Pecha Kucha Night BKK #6

Pecha Kucha Night Bangkok ครั้งที่ 6 /
10 ตุลาคม 2552 ที่สยาม ดิสคัฟเวอรี่ เซนเตอร์
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ "ฉันเป็นนักออกแบบกราฟิกไทย"


เพะชะ คุชะ ไนท์ ครั้งนี้มาพร้อมกับหัวข้อ "graphic design = . . ." ซึ่งปกติก่อนนี้
จะไม่ค่อยมีโจทย์ และสามารถสรุปความจากพี่อาร์ต สุรัติ โตมรศักดิ์ แห่ง try2benice ได้ว่า
"คืนละ 20 คน คนละ 20 ภาพ ภาพละ 20 วินาที มีสาระหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็น" :-.)

แต่ในเมื่อมันมาพร้อมหัวข้อนี้ และรอบนี้เป็นนักออกแบบกราฟิกเกือบหมด
เลยคิดว่าน่าจะพูดถึงการออกแบบกราฟิกโดยใช้วิธีการออกแบบไทป์ดีไซน์ดีกว่า
เริ่มด้วยสไลด์ที่หนึ่ง :)


1. โดยส่วนตัวเชื่อว่า สิ่งที่อยู่ในองค์ประกอบสำคัญของกราฟิกดีไซน์คือ ข้อมูล
ที่ถูกส่งถ่ายออกไปยังผู้รับที่ผู้ส่งต้องการให้พบเห็นในสื่อที่ส่งถ่ายผ่านไป
ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะมีความหมายหรือไม่ หรือข้อมูลนั้นอาจมีแค่ความเชื่อ ความรู้สึก
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ส่วนตัวก็ยังเชื่อว่า มีอะไรบ้างอย่างถูกถ่ายทอดส่งต่อออกไป


2. ทำให้นึกถึงแบบตัวอักษรหนึ่งคือ Baskerville ที่ถูกออกแบบโดย
John Baskerville เมื่อปี 1757 ประเด็นที่ทำให้นึกถึงคือ ตัวอักษร Baskerville นี้
ถูกจัดอยู่ใน Classification ที่เรียกว่า Transitional (ทางกายภาพ
เป็นแบบตัวอักษรที่ออกแบบโดยใช้เครื่องมือในการคำนวณ)


3. Transitional Classification คือ กลุ่มที่พัฒนาต่อมาจาก Old Style Classification
(แบบตัวอักษรละติน ที่มีลักษณะมาจากการเขียนมือด้วยปากกกา) เพื่อพัฒนาไปสู่
Modern Classification (แบบตัวอักษรที่อุปกรณ์การทำบล็อกตัวอักษรมีความ
ละเอียดมากขึ้น และสื่อที่ใช้ในช่วงเวลานั้นเปลี่ยนไป) บลาๆ 20 วิ แบบย่นย่อ

ที่เล่าไปในช่วงแรกคือ สิ่งที่อยู่ในชั้นเรียน Typography1 ที่ผมสอนอยู่ที่
มหาวิทยาลัยกรุงเทพและสไลด์ที่ให้ดูผ่านไปก็คือ ภาพตัวอย่างที่ใช้ในชั้นเรียน
เพื่อให้ นศ. ได้ทำความรู้จักและเข้าใจ


4. หนึ่งในการเรียนรู้โครงสร้างตัวอักษร คือ การรับรู้ชุดข้อมูลหนึ่งที่บ่งบอกว่า
ตัวอักษร Baskerville มีลักษณะอย่างไร จุดเด่นคืออะไร โค้งอย่างไร
แต่ละเส้นหนาบางอย่างไร และที่สำคัญแต่ละส่วนนั้นเพื่ออะไร
ซึ่งวิธีที่จะเรียนรู้ได้เร็วและง่ายที่สุด คือ การให้นศ.แต่ละคน
ดรออิงค์ภาพตัวอักษรที่เห็นนั้น ลงในกระดาษขนาด A2


5. ผลที่ได้จากชั้นเรียนในวันนั้นคือ แบบตัวอักษร Baskerville ที่นศ. แต่ละคน
รับรู้ ข้อมูล g (lowercase) Baskerville และส่งถ่ายไปยังสมองของแต่ละคน
ซึ่งแต่ละคนนั้นก็ถ่ายทอด ข้อมูลนั้น ลงมาบนกระดาษด้วยวิธีการวาดเส้น

Ek PechaKucha Slide 06

6. ข้อมูล ที่ได้มา มีตั้งแต่เหมือนมากๆไปจนถึง. . . :) จากข้อมูลชุดเดียวกัน
สิ่งที่ผิดเพี้ยนไปมีปัจจัยมากมาย ตั้งแต่ ความตั้งใจฟังถึงที่มาที่ไปของตัวอักษรชุดนี้
ทำความเข้าใจถึงที่มาที่ไปของหน้าตาโครงสร้างของมัน ไปจนถึง ทักษะพื้นฐาน
ในการถ่ายทอดข้อมูลชุดนี้ด้วยการวาดเส้น

Ek PechaKucha Slide 07

7. แบบตัวอักษรที่ได้มาในชั้นเรียนวันนั้น ทั้งหมด 33 ตัวอักษร g จากนศ. 33 คน
ซึ่งมีคะแนนที่ให้ไป ตั้งแต่ A ไปจนถึง D

สิ่งที่ว่ามาถึงความผิดเพี้ยนไม่ใช่ประเด็นของโปรเจคที่กำลังจะเล่าถึง
แต่มันคือ ชุดข้อมูล 33 g Baskerville ในหนึ่งวัน จากชั้นเรียนนั้น
ถ้าลองถอยกลับมามอง คิดว่ามันมีข้อมูลบางอย่างที่น่าสนใจแฝงอยู่

Ek PechaKucha Slide 08

8. ทดลองนำข้อมูลทั้ง 33 g มาตั้งข้อกำหนดเป็นตัวแปรที่เหมาะสมและรับได้
โดยการหาค่าเฉลี่ยที่ซ้อนทับกันเพื่อหาค่าของน้ำหนักที่ได้มากกว่า 50%
เพื่อให้ได้โครงสร้างตัวอักษรใหม่ ที่เราก็ยังไม่รู้ว่าหน้าตามันจะออกมาเป็นอย่างไร
ที่มาจากการส่งถ่ายข้อมูลผ่าน 33 g

Ek PechaKucha Slide 09

9. แบบตัวอักษรและตำแหน่งจุดที่ถูกคลี่คลายและจากค่าเฉลี่ยที่ได้มา

Ek PechaKucha Slide 10

10. ต้นแบบตัวอักษร g แบบใหม่ ที่มีชุดข้อมูลใหม่ อยู่ในตัวอักษรหนึ่งตัวนี้
และวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานออกมาเป็นหัวข้อย่อยเพื่อตั้งเป็นระบบใหม่
เพื่อการออกแบบชุดตัวอักษรใหม่

Ek PechaKucha Slide 11

11. ตัวอย่างข้อมูลที่ถูกจัดการและทำความเข้าใจเพื่อให้ได้ระบบที่ง่ายต่อการตั้งต้น

Ek PechaKucha Slide 12

12. อีกหนึ่งตัวอย่างข้อมูลของตัวอักษรต้นแบบ คือ ปลายตัด และเส้นที่มีความซับซ้อน
ตัวเส้นจะไม่เชื่อมต่อกัน หรืออีกนัยหนึ่งคือ ข้อมูลนั้นจะหายไป

Ek PechaKucha Slide 13

13. อีกหนึ่งตัวอย่างข้อมูลที่ได้มา คือ ข้อมูลที่ยาวมาก ข้อมูลนั้นจะหายไปและ
ระบบนั้นจะไม่สมดุล

Ek PechaKucha Slide 14

14. เนื่องจากแบบตัวอักษร g ต้นแบบ ที่ได้มา เป็นแบบตัวอักษรที่มาจาก
ผลข้อมูลที่ไม่ได้เกิดจากการควบคุมการออกแบบ เลยคิดว่าควรจะทำความคุ้นเคย
กับโครงสร้างนั้น โดยการพิมพ์และติดไว้ให้เห็นตลอดเวลาที่ทำการออกแบบ
ตัวอักษรอื่นในชุดเดียวกันนั้น

Ek PechaKucha Slide 15

15. a e i o u ที่ออกแบบจาก ชุดข้อมูลใหม่ ที่ได้มาจาก g
จากภาพตัวอย่าง ส่วนโครงสร้างของตัวอักษรที่ขาดหายที่เป็นไปได้
ในตัวอักษร a e i o u

Ek PechaKucha Slide 16

16. ชุดข้อมูลที่ถูกส่งถ่ายออกไปยังตัวอักษรตัวอื่นๆ
จากภาพตัวอย่าง ลักษณะปลายกลมที่เป็นไปได้ในตัวอักษรอื่นๆ

Ek PechaKucha Slide 17

17. ระบบต่างๆที่แชร์ข้อมูลย่อยหลายๆข้อที่วิเคราะห์ออกมา และส่งถ่ายไปมา
ตามแต่โครงสร้างของแต่ละตัวอักษรจะจำเป็นต้องมีอย่างไม่ยัดเยียดขัดขืนจนเกินไป

Ek PechaKucha Slide 18

18. ตัวอย่าง ตัวอักษร a-z แบบใหม่ที่ตั้งต้นจาก ชุดข้อมูล ที่ถูกส่งถ่ายไปมา

Ek PechaKucha Slide 19

19. เทียบเคียง ตัวอักษร Baskerville กับ ตัวอักษรใหม่ (ที่ยังไร้ชื่ออยู่ :)

Ek PechaKucha Slide 20

20. แสดงผลตัวอักษร ที่เป็น รูปคำ และ ประโยค ให้เห็นภาพรวม
ความคาดหวังว่า จะมีคนฟังหลับๆไปบ้าง เลยพิมพ์คำนี้ขึ้นมา
แต่ด้วยเวลาที่เร่งและรู้สึกกระชับชิดมาก ผู้ฟังวันนั้นเลยหลับไม่ทัน :)



ขอบคุณสำหรับโปรเจคสนุกๆที่ให้โอกาสในการทดลองพยายามเล่าด้วยภาพ
ให้คนฟังเข้าใจถึงการออกแบบตัวอักษรโดยใช้วิธีการเข้ากระทำในอีกรูปแบบ
วิธีการหนึ่งเพื่อให้ได้ตัวอักษรที่ต่างออกไป

และขอบคุณผลงานนศ. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ในชั้นเรียน Typography1 / ปี 2550

Wednesday, May 5, 2010

KiriyaMarayart™ กิริยามารยาท


KiriyaMarayart™ กิริยามารยาท แบบตัวอักษรที่พัฒนาจากสัณฐานและความหนาเส้นของ

"ครับ" ที่เคยชนะประกวดแบบตัวอักษรของกรมทรัพย์สินทางปัญญาเมื่อปี 2006 เนื่องจาก

ข้อจำกัดที่ต่างออกไปจากเดิม -ของการประกวดที่ต้องการบุคลิกที่ง่ายต่อการปะทะกับกรรมการ

และดึงความแปลกแยกออกจากร้อยสองร้อยแบบตัวอักษรในพื้นที่นั้น เมื่อมาถึงจุดที่อยากจะ

นำมาขัดเกลาอีกครั้งจึงอยากลดอะไรหลายๆอย่างที่ตะโกนโหวกเหวกออกมาตอนนั้น และที่สำคัญ

ควรจะต่างจากแบบเดิมและแบบอื่นๆที่มีอยู่แล้ว**(สิ่งสำคัญสุดจริงๆ:)


**คงเป็นเรื่องที่ต้องพูดกันอีกยาวสำหรับเรื่องความ ต่าง ในระดับที่ คนทั่วไป หรือ นักออกแบบสื่อสาร

หรือ นักออกแบบตัวอักษร มองออกว่ามันต่างหรือไม่ และอย่างไร สำหรับแบบตัวอักษรประเภท

เนื้อความ (Text type) แต่พื้นฐานที่สุดคือ เจตนาของผู้ออกแบบเองจะรู้ดีว่าเราซื่อสัตย์กับตัวเอง

แค่ไหนในการที่จะสร้างแบบตัวอักษร ใหม่



และแล้วก็เป็นการนำมาซื่งแบบตัวอักษร กิริยา Kiriya™ ที่พัฒนาต่อมาจาก ครับ Krub™

ด้วยเงื่อนไขดังกล่าว ลดบุคลิกและเพ่ิมบุคลิกไปในที เพิ่มความมั่นคงให้มากขึ้นแต่ยังคง

ความเป็นธรรมชาติอยู่ และแล้ว 'กิริยา'ได้ถูกลองใช้ครั้งแรกใน TSP(2007) Thailand

Script Project สำหรับการเป็นตัวเนื้อความ หลังจากนั้นถูกนำมาใช้อีกครั้งในงาน

ARTAIDS MORE TO LOVE: the art of living together (2008) อาร์ตเอดส์ ใจเขาใจเรา:

ศิลปะแห่งการอยู่ร่วมกัน ใช้ไปปรับไปเรื่อย จนมาถึงงาน Virtues of the Kingdom (2009)

บารมีแห่งแผ่นดิน ที่ทำร่วมกับ Practical Design Studio จึงนำกลับมาใช้อีกครั้ง พอดีกับ

ทาง Practical กำลังจัดงาน I am a Thai graphic designer™ อ.สันติ (พี่ติ๊ก) จึงเลือกและ

นำ 'กิริยา' ไปใช้เป็นตัวเนื้อความของโครงการนี้ด้วย และเป็นครั้งแรกของตัวอักษรชุดนี้ที่

ถูกนักออกแบบคนอื่นนำไปใช้งาน


จุดเปลี่ยนอีกครั้งของ กิริยา จากการปรับแบบไปเรื่อย จึงถึงจุดหนึ่งมีการปรับเปลี่ยนอย่าง

จริงจังโดยให้ฐานล่างกลมขึ้น เนื่องจากขณะออกแบบอยู่นี้ เทอมนั้นกำลังสอน วิชา Typography

ที่ มหาวิทยาลักกรุงเทพ กับ อ.สุชาติ เลิศคชาธาร จึงได้ความเห็นมาว่า ลองปรับให้ฐานล่าง

กลมขึ้นดีมั้ย? เชื่อผู้ใหญ่หมาไม่กัด (แต่ในใจคิดว่า เอาว่ะ อาจจะขายผู้ใหญ่ได้ 55) ตอบทันที

"ได้ครับ เดี๋ยวไปลองดูเลย" การลองกับฟอร์มต่างๆที่คิดว่ามันจะสร้างอะไรบางอย่างที่มี

ผลกระทบกับคนอื่นๆมันไม่มีอะไรเสียหาย จึงเป็นที่มาของ 'กิริยา (ที่มี) มารยาท' ขึ้น



จากการที่ กิริยามารยาท ถูกใช้ในงาน บารมีแห่งแผ่นดิน จึงทำให้ต้องการตัวเขียนที่เป็นขนบเดิม

อยู่บ้างจึงทำ ร เรือ และ ธ ธง แบบคลาสสิค ไว้ให้เลือกใช้เสริม สำหรับฟังค์ชั่น Opentype ใน

Adobe CS เพียงแค่เลือกที่ข้อความหรือตัวอักษรที่ต้องการแล้วคลิ๊ก Stylistic Alternates

ร ก็จะกลายไปเป็น ร แบบคลาสสิค


ล่าสุด กิริยา™ และ กิริยามารยาท™ ถูกนำมาใช้ในงานหนังสือ เพียงความเคลื่อนไหว

Mere Movement, อนุทิน ๑๔ ตุลา และ วิถีแห่งญาณทัศน์ ของ อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

และเริ่มมีการจัดจำหน่ายไปบ้างแล้วที่ คัดสรรดีมาก ดิสทรีบิวชั่น.

Monday, April 26, 2010

Ditoria LetterPress

ชอบจริงๆระบบเลตเตอร์เพรสเนี้ย
แปะเอาไว้จะได้ไม่ต้องเสียเวลาอธิบายในชั้นเรียน ดูเอาเองนะ :)

Ditoria from typometro on Vimeo.

Wednesday, April 14, 2010

TSP2010

Thailand Script Project 2010 (TSP2010)
โครงการเฟ้นหาบทภาพยนตร์ที่ดีที่สุดจากทั่วประเทศ
โดยคุณนนทรีย์ นิมิตรบุตร และ คุณเป็นเอก รัตนเรือง

"อีกครั้งกับโอกาสเป็นสุดยอดบทหนัง" เพียงส่ง
เรื่องย่อ 3 หน้ากระดาษ A4 / 50 เรื่องเข้ารอบ
ได้รับโอกาสอบรมและพบปะพูดคุยกับโปรดิวเซอร์
และผู้อำนวยการสร้างจากทุกค่ายหนัง / 1 เรื่องที่ดีสุด
รับ TSP Awards 100,000 บาทพร้อมกล้องวิดีโอ
Canon Legria HFR16

ยังไม่ได้เห็นโปสเตอร์ตัวจริง เอาปรู๊ฟมาดูเล่นก่อนแล้วกัน


TSP2010 (proof poster)
designed by Ekaluck Peanpanawate 2010

นำเสนอไป 3 ไดเรคชั่น / ไดเรคชั่นละ 3 แบบ รวมเป็น 9 ทั้งที่
เค้าบอกว่าให้ส่งให้เลือกซัก 2 หรือ 3 แบบก็ได้ :)
แนวทางหนึ่งที่ได้เลือกจากพี่ต้อมจนมาเป็นงานนี้คือ
แนวทางสร้างและรักษาบุคลิกของ TSP2007 ไว้
และหวังว่าโปรเจคดีแบบนี้จะจัดได้อีกเรื่อยๆ
และถ้าได้ทำอีกคงจะยากขึ้นเรื่อยๆแต่สนุกดี

รายละเอียดการโครงการ TSP2010 facebook

Tuesday, April 6, 2010

Knight Sans @ T26



KnightSans™ designed by Ekaluck Peanpanawate
distrubuted at T26.com/Apr 2010

Friday, January 8, 2010

Play the Piano on YouTube


interactive video by KOKOKAKA