Saturday, October 28, 2006

LIFE is Short

มนุษย์เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตเล็กๆ มีอายุแสนสั้น
ในวันหนึ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะผ่านพ้นไป


การที่ใครคนหนึ่งที่เรารู้จัก ต้องจากไป
เป็นความรู้สึกที่...แปลกประหลาดใจ!?
ยิ่งถ้าการจากไป ต้องไปถึงสอง
คิดว่าเพื่อนทั้งคู่คง . . . ไม่ เหงา . . .

Tuesday, October 24, 2006

Krub / THAI Text Typeface



โปสเตอร์ "ครับ" แสดงงานร่วมกับ 13 ตัวพิมพ์ที่ชนะเลิศ

แบบตัวพิมพ์ "ครับ" รางวัลชนะเลิศ 1 ใน 10 ตัวพิมพ์ไทย
ประเภท ตัวเนื้อความ โดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์

แนวความคิด
จากธรรมชาตินิยม
ในภาษาพูดแบบธรรมชาติ แปลงเป็นวิธีเขียนแบบธรรมชาติ
กำหนดโครงสร้างหลักให้เป็นการขีดเขียน
ที่ตอบรับกับธรรมชาติของการลากเส้น
ตั้งไม่ตรง มนไม่กลม เหลี่ยมไม่ชัด กฎไม่ยึด
ความไม่ตายตัวเป็น "แรงบันดาลใจ"

นัยยะคําว่า ครับ ทําให้นึกถึงการพูดจาแบบสุภาพ เรียบร้อย
เป็นการส่งสารระหว่างคนถึงอีกคน แปลว่า มีการสื่อสาร
ตัวอักษรมีไว้เพื่อสื่อสาร ไม่ว่าจะนัยยะ หรือความหมาย


หัว ? เล็กก็ใช่ ใหญ่ก็แปลก
หัวของตัวพิมพ์ไทยมีไว้เพื่อคุณสมบัติการอ่านง่าย (legibility)
เพื่อใช้แยกแยะตัวอักษร โดยใช้ระบบการลวงตา (optical illusion)
เกิดเป็นหัวกลมเมื่อผ่านการมองในขนาดเล็กแบบเนื้อความ (body text)


การออกแบบเชิงทดลอง โดยการตั้งคําถามกับหลักนิยมที่เป็นอยู่
นุ่มนวลขึ้นจะอ่านง่ายสบายตาขึ้นหรือเปล่า //
รายละเอียดที่ต่างจะทําให้แยกแยะได้รวดเร็วขึ้นมั๊ย //
ถ้าความเป็นระเบียบคือทันสมัย แล้วไร้ระเบียบคืออะไร //
ตัวเนื้อความ ไม่คิดแบบเนื้อความ แต่เป็นเนื้อความได้หรือไม่ //
ไม่คํานึงถึงวัตถุประสงค์ของประเภทการใช้งาน แล้วจะไปอยู่ในงานประเภทไหน //
คําตอบ !?


STRUCTURE of KRUB
Humanist stroke / Counter not Symmetrical / Very low stroke contrast / Not perfectly circular / Flared endings / Angled ends / Subtle brake / Deep join / Ink trap /


download at
http://www.ipthailand.org/dip/index.php?option=com_content&task=view&id=242&Itemid=422

Charmonman / THAI Classic Script



โปสเตอร์ "จามรมาน" แสดงงานร่วมกับ 13 ตัวพิมพ์ที่ชนะเลิศ




แบบตัวพิมพ์ "จามรมาน" ชนะเลิศประกวดตัวพิเศษอาลักษณ์
รางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

แนวความคิด
ศึกษารูปแบบการเขียนตัวอาลักษณ์เดิม
นำมาขีดเขียนขึ้นร่างโครงสร้างใหม่
ด้วยความรู้สึกและรูปแบบที่คุ้นเคยของ
นักออกแบบในยุคกว่าร้อยปีให้หลัง
ยุคแห่งดิจิตอล ปัจเจกชน วัตถุนิยม

การหาสิ่งยึดร่วมระหว่าง 2 ช่วงเวลา
จุดยืนสำหรับความพอดีของ 2 ช่วงสมัย
การเชื่อมระหว่างอดีต กับ ปัจจุบัน
เป็นตัวพิมพ์ไทยแบบ "อาลักษณ์ร่วมสมัย"


“ร่วมสมัย มาจากคําภาษาอังกฤษ� Contemporary มีความหมายว่า อยู่ในช่วงเวลาหรือสมัยเดียวกัน ดังนั้น คําว่าร่วมสมัยก็คือ ปัจจุบัน แต่ร่วมสมัยของเมื่อสิบปีที่แล้ว ย่อมต้องเปลี่ยนไปไม่เหมือนกับร่วมสมัยในวันนี้ เพราะแน่นอนคําว่าร่วมสมัยมีพลวัตในตัวของมันเอง คํานี้มีความหมายเ�ลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา”

Prof. Dr. Apinan Poshyananda
Director General of Office of Contemporary Art and Culture




download at
http://www.ipthailand.org/dip/index.php?option=com_content&task=view&id=242&Itemid=422


ข้อมูล ผู้สนับสนุนโครงการประกวด ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน
http://www.charm.au.edu/mainright_th.htm