รู้จัก Kerning กันมั๊ย อาจจะเป็นศัพท์เฉพาะทางที่คนทั่วไปไม่จำเป็นนัก
แต่สำหรับนักออกแบบกราฟิคที่ทุกคนต้องรู้จัก เพราะมันเป็นพื่้นฐาน
ของพื้นฐานที่พูดสอนกันตลอดเวลาในชั่นเรียน typography
ไม่ว่าจะที่ไหน
ตัวอักษรแต่ละตัวมีพื้นทีซ้ายขวาที่แตกต่างกันตามฟอร์มของพยัญชนะ
จะเห็นว่าถ้าเราพิมพ์งานตัวอักษร โดยปกติ ช่องไฟที่เกิดขึ้น
กับฟอนต์ที่ออกแบบช่องไฟมาจะมีระยะที่สมบูรณ์ (Auto Kerning)
click รูปเพื่อขยาย
ดูกันให้ชัดนะครับ ่ว่าถ้าไม่มีการ kerning จะทำให้ตัวอักษรบางตัว
ที่มีข้อจำกัดในการออกแบบเฉพาะตัวนั้น เมื่อมาเจอกันมันจะห่าง
กว่าเจอกับตัวอักษรบางตัว แล้วหน้าที่ใครล่ะ ที่จะใส่ใจกับระยะห่าง
เพียงน้อยนิดของตัวอักษรเหล่านี้
Type design หรอ? ไม่ผิดครับ เป็นหน้าที่รับผิดชอบต่อตัวอักษร
ที่ตัวเองออกแบบมา
แต่ใครล่ะที่เป็นผู้ใช้จริง Graphic Designer ด้วยหรือเปล่า
ไม่ใช่ทุกฟอนต์ที่จัดการกับ ช่องไฟ เหล่านี้ แบบตัวอักษรมากมาย
มหาศาลที่พบเห็นกันอยู่ไม่ได้มีการจัดการช่องไฟมา
นักออกแบบกราฟิกต้องรู้จักเลือกแบบตัวอักษรที่ดี
(ที่ออกแบบช่องไฟมา) หรือไม่อย่างนั้นก็ควรจะต้องจัดการ
กับช่องไฟเหล่านั้นเอง (อย่างน้อยเลิกใช้ Auto มาใช้
Optical ก็ยังดี )
เพราะฉะนั่นพื่นที่ช่องไฟเหล่านี้ของนักออกแบบกราฟิกก็
ไม่ต่างจากสถาปนิกที่จัดการกับพื่นที่ของห้องต่างๆ
ได้ไม่สมดุล ห้องน้ำใหญ่กว่าห้องนั่งเล่นก็คงไม่สบายนัก
ที่ว่ามาอาจจะไม่ยิ่งใหญ่เท่า แต่มันก็ไม่สบายตาและคง
รู้สึกอึดอัดไม่ต่างกัน
ความตั้งใจจริงของวันนี้คือจะมาชวนเล่นเกมส์
KERNinSPACE :)
แต่เกริ่นนานไปหน่อย พอเข้าใจกับคำว่า KERN กันแล้วนะ
สำหรับนักออกแบบ (จริง) คงเบื่อแล้วกับเรื่องแบบนี้
แต่ทนอ่านมาได้ขนาดนี้ คงไม่ยากสำหรับเกมส์นี้
ไป เล่ นเ ก มส์ ก ั น คร ั บ แ ล้ว จ ะ ไ ด้
เห็ น ว ่ า เค ร ่ น ์ น ่ ่ง ใ ห ้ ม ั น นิ ่ง
ไ ม่ใ ช่ เ รื่ อ ง ง่ า ย
:)