การตลาดไง แต่บ้านเรามันกลับกันเลย ก็บ้านเรามันขับเคลื่อนด้วยเงิน"
เอก-เอกลักษณ์ เพียรพนาเวช นักออกแบบตัวอักษร (Type Designer)
เอ่ยด้วยน้ำเสียงเรียบ ไมไ่ด้มีอาการน้อยใจหรือประชดดังใจความที่เอ่ยขึ้น
"คนส่วนใหญ่ที่ทำกราฟิกได้มักคิดว่าก็ทำฟอนต์ได้เหมือนกัน คิดว่ามัน
ไม่น่ายาก เขาก็ทำๆๆ" ซึ่งผมตอบแทนได้เลยว่ามันไม่ง่ายขนาดนั้น
เพราะอย่างเอกที่ทำได้แบบนี้จัดได้ว่า "บ้า" อักษรพอดูเชียวละ
บางชุดใช้เวลาหลายปีกว่าจะพัฒนาเสร็จ แล้วรายได้ก็อยู่ประมาณ
1 ใน 5 ของงานกราฟิก ใครอดทนทำได้อยู่ก็น่าชื่นชมพอดู
ก่อนที่จะเป็น Typeface Designer ได้ นักออกแบบต้องเคยทำงาน
Typography หรือการใช้ตัวอักษรให้ชำนาญเสียก่อน " เดิมต้องเป็น
กราฟิกที่สนใจ Typography ด้วย เห็นบ่อยๆใช้บ่อยๆก็จะรู้ หลังจากนั้น
ก็ต้องลองมาทำสัก 2-3 ฟอนต์ก่อน มันถึงจะเริ่มนิ่ง"แต่แค่งาน
Typography ก็ยังยากที่จะมีคนทำได้ลงตัว " เราว่าสมัยก่อนที่ยังต้อง
เขียนตัวอักษรด้วยมือ ดูคนตั้งใจกับตัวอักษรมากกว่า เดี๋ยวนี้มีคอมพิวเตอร์
ขนาดการจัดคอลัมภ์ยังไม่ค่อยสนใจกันเลย คือ พิมพ์ๆๆๆแล้วก็โยนไปเลย
ปล่อยให้เครื่องมันตัดคำเอง ไม่ได้ไปดูมันเลย"
ก็ตั้งแต่เรียนกราฟิกดีไซน์มา เอกก็เริ่มเป็นคนบ้าตัวอักษรมาตั้งแต่ปี 3
ขนาดงานวิทยานิพนธ์ยังเป็น Typeface Design เลย ถึงทุกวันนี้ก็เป็น
อาจารย์สอนนักศึกษาถึง 2 สถาบัน " สอนอยู่ที่ ม.กรุงเทพ กับ
International Art Center ของ สมาคมฝรั่งเศส กรุงเทพฯ ทั้ง
Graphic Design, Typography และ Editorial Design ซึ่งมีตั้งแต่
ออกแบบสิ่งพิมพ์ โปสเตอร์ หนังสือ ไปถึงนิตยสารทั้งเล่ม ซึ่งเน้นไปที่
Content เป็นหลัก แต่การใช้ Typography ก็เป็นส่วนสำคัญอย่างมาก"
ก็น่าเอาใจช่วยให้เอกและนักออกแบบคนอื่นๆพยายามทำงานออกแบบที่ดีๆ
ออกมาบ่อยๆ อานิสงค์จะได้ตกถึงนักเรียนที่จะได้บ่มเพาะตัวเองจาก
สภาพแวดล้อมที่ให้ความสำคัญกับงานออกแบบจริงๆ
เอกฝากฝีมือไว้กับตัวอักษรดังๆหลายชุดอย่างเช่น ตัวอักษรภาษาไทยของ
ค่ายโทรศัพท์ DTAC "งานนี้ทำงานร่วมกับ คุณอนุทิน วงศ์สรรคกร ในนาม
คัดสรร ดีมาก ซึ่งจากโจทย์ที่ได้มาคือมีตัวอังกฤษที่เป็นตัวอักษรที่ใช้ใน
อัตลักษณ์องค์กรของเค้าอยู่ก่อนแล้ว แล้วต้องทำภาษาไทยให้คู่กัน
ซึ่งมันก็ไม่ง่ายเสียทีเดียวหรอก ต้องแกะลักษณะของต้นแบบให้ออก
พอเป็นอักษรไทย จำนวนก็มากกว่า แล้วยังต้องจัดการกับระบบระยะห่าง
วางลงในประโยคแล้วจะเป็นอย่างไร คิดหลายอย่าง แต่พอออกมาแล้ว
มีคนพูดถึงก็รู้สึกดี
ผลงานอื่นๆที่หาดูได้ง่ายหน่อยก็ป้ายชื่อของ "มิวเซียมสยาม"
ก็ใช้อักษรชุด KaniGa Patana (คณิกาพัฒนา) ที่เขาพัฒนาจาก
งาน KaniGa (คณิกา) ของเขาเอง ที่เคยชนะประกวดตัวอักษรมาแล้ว
และเขาได้มีโอกาสออกแบบตัวอักษรถวาย พระเจ้าหลานเธอ
พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เพื่อทรงใช้ในงานออกแบบเสื้อผ้า
แม้ตอนนี้ยังไม่ได้แบบที่สรุปชัดเจนแต่ก็พอลองชมได้จาก
www.sirivannavari.com ครับ ก็นับเป็นอีกงานหนึ่งที่เขาภูมิใจ
แต่ทั้งหมดนี้จะอนุมานว่าคนไทยเริ่มเห็นความสำคัญของ
Typeface Design บ้างแล้ว ผมก็ยังไม่กล้าพูดเลยครับ...
ไหนๆก็ "บ้า" มาขนาดนี้ มันก็ต้องสู้ให้ถึงที่สุดแล้วละ
*ขอขยายความเพิ่มเติมจาก Who
Type Design - Graphic Design - Advertising ที่คุณกุ้งพาดหัวสืบเนื่องจาก
จากพูดคุยถึงภาพรวมในงาน Type design ในบ้านเรา และอาจจะไม่มี
ความหมายเลยถ้าผู้ที่พูดประโยคนั้นไม่ใช่ คุณภาณุ อิงคะวัต กูรูแห่งวงการ
โฆษณา แม้ทุกวันนี้ก็ยังอยู่ในใจหลายๆคน คำว่า เท่ห์ จึงไม่ใช่แค่รูปภายนอก
แต่คือความอิสระในการสร้างสรรค์
"บ้า" โดยส่วนตัวแล้ว เชื่อว่า คนเราควรทำเต็มที่ในหน้าที่ที่ควรจะทำ
การเป็นคนรู้เส้นทางตรอกซอกซอย ถ้าคุณเป็นคนขับแท็กซี่ การเป็นคน
คิดเลขเร็วและในใจด้วย ถ้าคุณเป็นพนักงานแบงค์ การเป็นคนทนไม่ได้
ที่เห็นอ่างเปียก ถ้าคุณเป็นพนักงานทำความสะอาดในห้องน้ำที่ฮิลตัน
สิ่งเหล่านี้ ควรจะเป็นเรื่องปกติมากกว่าหรือเปล่า :) ฉะนั้นเราควรจะ
ทำเรื่องปกติของเราให้คนอื่นมองว่ามันบ้าหว่ะ กันดีมั๊ย ^,^