feel goood
คงได้พบเห็น ตัวอักษรคำว่า feel goood กันไป เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ไม่รู้ว่านอกจากคนในวงการออกแบบจะสัมผัสถึงความรู้สึกของมันได้แล้ว
คนทั่วไปจะรู้สึกบ้างมั๊ยว่า นอกจาก logo ใบพัดสีฟ้า กับคำว่า feel goood
ยังมีแบบตัวอักษรใหม่ที่ต่างไป
อ่านบทความจากนักเขียนจริงที่มีสาระดีๆได้ที่ รู้สึกได้ถึงความรู้สึกดี
ที่ Typographic Open Book (Thailand)
แบบร่างแรก เปรียบเทียบกันต้นแบบ
อีกหนึ่งงานที่ทำในนามคัดสรรดีมากพร้อมกระบวนการทำงานแบบเร่งด่วน
ซึ่งเร่งด่วนที่ว่านี้ คือ เกินปกติ เพราะแบบตัวอักษรชุดนี้ได้ ทำงานกันแบบ
เกือบจะตลอด 24 ชม. (ดีนะที่แบบตัวอักษรนี้ไม่ใช่ของ 7-11) จาก
นักออกแบบ 2 คน สลับกันคนละกะเวลา เหมือนพนักงานโรงงาน (นรก)
ทำให้อัพเด็ทเวอร์ชั่นกันจนถึงขั้นงงไปพักนึง v.1 / 1.5.2 / 3.2 / 5 /
8x / 11.5 / Vx / Vx2 นี่คือตัวอย่างบางส่วน เนื่องจากกรอบของเวลา
ในการเปิดตัวโปรเจคลับนี้
แบบร่างเปรียบเทียบ รูปแบบตัวอักษร และแนวทางพัฒนางานต่อ
แต่นั่นไม่ใช่เนื้อหาสาระของบทความนี้ ส่ิงหนึ่งที่น่าสนใจคือ
ก่อนที่โปรเจคนี้จะมาถึงมือคัดสรรดีมาก ทางครีเอทีฟจูซ\จีวัน
ได้ร่างแบบตัวอักษรขึ้นมาครบชุดแล้ว แต่โจทย์จริงที่ลูกค้าต้องการคือ
แบบตัวอักษรไทยที่อยู่บนโครงสร้างพื้นฐานการออกแบบของตัวอังกฤษ
ที่ ไมล์ นิวลิน ได้ออกแบบไว้สำหรับใช้ในองค์กรของเทเลนอร์ทั้งหมด
ซึ่งส่ิงที่ต้องทำมากกว่าการส่งแบบร่างคือ การนำเสนอรูปแบบตัวอักษรใหม่
่จากการถอดรหัสโครงสร้างของละตินต้นแบบ ในการมองของ
ไทปืดีไซน์เนอร์ เพื่อวิเคราะห์ให้กับผู้ที่ร่างต้นแบบตัวอักษรไทยเดิม
ได้เข้าใจ เห็นพร้อง และพอใจ เพราะร่างเดิมต้นแบบก็ไม่ได้มีปัญหาใน
เรื่องความงาม แต่ความต่างของ ไทป์ดีไซน์เนอร์ คือ รายละเอียด ตั้งแต่
สิ่งที่สำคัญทีสุดคือ ทิศทางโครงสร้าง สัณฐานของตัวอักษร และสิ่งอื่นๆ
ไม่ว่าจะเป็น ความหนาบางของเส้น จนไปถึงส่วนรายละเอียดอันเล็กน้อย
คือปลายจบของแต่ละตัวแต่ละโค้ง ซึ่งแต่ละน้ำหนักก็แตกต่างกันอีก
สิ่งเหล่านี้คือส่ิงที่นักออกแบบตัวอักษรต้องสัมผัสได้
เพราะเราทำงานอยู่กันมันทุกๆวัน
แบบร่างเปรียบเทียบความหนาของตัวอักษรในชุดปกติ
โปรเจคนี้จบลงด้วยความรู้สึกดีจริงๆ เนื่องจาก ความเข้าใจของทาง
เอเจนซี่ผู้ร่างต้นแบบ แม้จะแตกต่างจากเดิมไปอย่างมาก
บวกกับการนำแบบตัวอักษรนี้ไปใช้งานได้อย่างเหมาะสมลงตัว
งานที่ออกมาไม่รู้ว่าคนอื่นจะได้รับความรู้สึกอย่างไร
แต่ผมรู้สึกได้กับ feel goood... แม้ไม่ได้ใช่ DTAC :)