Friday, August 17, 2007

Tesco Lotus Comment

TLPromotion
typeface - TL Promotion

อีกหนึ่งงานที่ทำร่วมกับ พี่นุ - อนุทิน วงศ์สรรคกร ในนาม คัดสรร ดีมาก
เป็นฟอนต์แบบเฉพาะเจาะจงสำหรับ เทสโก้ โลตัส ซูเปอร์สโตร์
สามารถอ่านบทความเต็มได้ที่ Typographic Open Book (Thailand)
เมื่อห้างขายสินค้าราคาถูกซื้อของแพง โดย เจิมสิริ เหลืองศุภภรณ์

แต่ประเด็นที่เกิดบทความเบื้องหลังอีกชิ้นหนึ่งที่นี่ เพื่อจะเล่าถึงอีกหนึ่งเหตุการณ์
ที่น่าสนใจ โดยปกติแล้วงานออกแบบตัวอักษร จะเป็นงานที่ค่อนข้างตามใจ
นักออกแบบพอสมควร คือสามารถกำหนดรูปแบบได้ค่อนข้างอิสระตามแต่
พื้นฐานความรู้เรื่องการใช้งานตัวอักษรของแต่ละนักออกแบบ แต่สำหรับงานนี้
เป็นแบบตัวอักษรแบบสั่งตัด (custom font) จึงมีขอบเขตของลูกค้าเข้ามากำหนด
ซึ่งในข้อคิดเห็นสุดท้ายหลังจากส่งมอบฟอนต์ให้ลูกค้า คือ ขอปรับตัว ล.ลิง
ให้มีความพิเศษเพ่ิมขึ้น ในชุดอักษร ที แอล โปรโมชั่น เนื่องจาก 2 เหตุผลคือ
หนึ่ง เรา ลด ราคาบ่อย อืม! ล.ลิงจะถูกนำมาใช้บ่อยมากกกก /
สอง เราคือ โลตัส อืม! มาทั้ง ล.ลิง และ ส.เสือเลย ซึ่งในกรณีนี้
ทางคัดสรร ดีมาก ก็เห็นว่า สมเหตุสมผลดี และเป็นมุมมองที่น่าสนใจ

TLPromotion_revised

ล.ลิง ในชุดตัวอักษร ทีแอล โปรโมชั่น จึงมีหน้าตาแบบที่เห็นนี้ คือมีปลายสบัด
แบบเดียวกับ น.หนู และ ห.หีบ เลยได้โอกาสพิจารณา ล.ลิงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ซึ่งก็เป็นที่พอใจทั้งลูกค้าและนักออกแบบ บางทีมุมมองของลูกค้ามีก็น่าสนใจเหมือนกัน
แต่สาระคำคัญคือเราได้ทำหน้าที่นักออกแบบ ที่ดูแลงานออกแบบให้สมบูรณ์ที่สุด
เหมาะสมลงตัวที่สุด และมีความสมเหตุสมผลสำหรับงานออกแบบที่ควรจะเป็น :)

Tuesday, August 14, 2007

TSP Thailand Script Project

designed by B513DS!GN / Aug.2007

Thailand Script Project (TSP) โครงการเฟ้นหาบทภาพยนตร์ที่ดีที่สุดจากทั่วประเทศ
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ สำนักนายกรัฐมนตรี (OKMD)
และสำนักงานศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) สร้างปรากฏการณ์ครั้งแรก
ของเมืองไทย เปิดพื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนและอบรมเชิงปฏิบัติการ รวมถึงคัดเลือก
บทภาพยนตร์ที่ดีที่สุดจากทั่วประเทศไทยเพื่อโอกาสสู่การสร้างสรรค์ลงบนแผ่นฟิล์ม

สนใจส่งบทติดตามอ่่านต่อได้ที่ TSP blog TCDC ThaiCinema

TSP logo
logotype TSP - Thailand Script Project

คำว่า Script มีความหมายว่า งานเขียน ซึ่งก็คือ ตัวบทของภาพยนตร์
แต่ในอีกนัยยะหนึ่งของทางไทป์พอกราฟีก คือ ตัวลายมือ หรือ ตัวเขียน
จึงตั้งแนวทางการออกแบบโลโก้ชุดนี้ให้เป็นตัวเขียน ที่เป็นตัวย่อ TSP
ซึ่งเป็นโปรเจคใหม่ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักในชื่อโครงการนี้

ในขณะลากเส้นมีไอเดียเกี่ยวกับ การที่โครงการนี้เป็นโครงการเพื่อให้เป็น
เส้นทางให้นักเขียนบท ผู้กำกับ และ นายทุน ได้มาเจอกัน เลยลากเส้น
ให้ความรู้สึกของเส้นสายของถนน (เหมือนเพ้อเจ้อแต่ตอนลากเส้นคิดอยู่ในหัวจริงๆนะ:)
เลยเลยเถิดไปถึงการเลือกแบบตัวอักษรที่ใช้ร่วม Interstate ของ Tobias
จึงได้เข้ามาอยู่ในงานนี้ด้วย เนื่องจาก Interstate คือแบบตัวอักษรที่ได้
แนวคิดมาจากตัวอักษร Highway gothic บนป้ายทางหลวงของสหรัฐ
พอเห็นไทป์เพสนี้ทำให้นึกถึงนัยยะของการเดินทางไปด้วย
ซึ่งที่จริงบ้านเราก็มีใชไทป์เฟสนี้เหมือนกันแต่...ที่นี่เมืองไทย...
ใช้บ้างไม่ใช้บ้าง ยังไม่มีระบบ :( ตามสไตล์ไทยๆ

ถ้าพูดถึงความสำคัญของการให้ความสำคัญของแบบตัวอักษรกับราชการ(สหรัฐ)
ซึ่งมีการเปลี่ยนจาก highway gothic ที่ใช้อยู่เดิมไปสู่ clearviewhyw
(clear view highway) type family ที่ออกแบบใหม่ เพื่อตอบสนองการอ่าน ที่ชัดเจนขึ้นเหมาะสมกับการใช้งานมากขึ้น ที่จริงแล้วตอนนี้ฟอนต์ชุดใหม่ของ กรมทางหลวงสหรัฐเสร็จสมบูรณ์มาได้ระยะหนึ่งแล้ว เป็นโครงการตั้งแต่ปี 2005 และตอนนี้ก็เริ่มใช้กันไปบ้างแล้ว คงจะทะยอยเปลี่ยนไปตามรัฐต่างๆ
ก็คงต้องใช้เวลาสักพักเพราะค่าใช้จ่ายสูง และเราจะได้อ่านบทความเต็มๆ
เกี่ยวกับประวัติศาสตร์หน้าใหม่นี้ จาก คุณอนุทิน วงค์สรรคกรในเร็วๆนี้

TSP POSTER
poster TSP07

แบบโปสเตอร์ได้มาหลังจากอ่านหนังสือ "เขียนบทแบบ เป็นเอก รัตนเรือง"
โดย นวรัตน์ รุ่งอรุณ จบไปหนึ่งเล่ม มาสะดุดกับส่ิงที่พี่ต้อมพูดถึงการเขียนบท
มันต้องใช้ องค์ประกอบ 2 อย่างคือ ตรรกะ กับ จินตนาการ
จากกระดาษ 5 แผ่น นำไปสู่จินตนาการที่เกินจะนึกถึง

TSP LEAFLET
leaflet TSP07

งานนี้ได้มีโอกาสร่วมงานกับ ชาญชัย นาคะเลิศกวี นักออกแบบรุ่นใหม่
ที่เคยร่วมงานกับ DSTGR และ FAME magazine
รู้สึกช่วงนี้ได้กลับมาทำงานแบบทีมค่อนข้างบ่อยก็สนุกไปอีกแบบ
ยังเหลือสูจิบัตรอีกเล่มหลังจากได้ 30 ผู้เข้ารอบงานนี้แล้ว

งานนี้ได้ใช้แบบตัวอักษรใหม่อีกแล้ว ทั้ง Klobalization และ
K..... (body text font ที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อเลย:)

Sunday, August 5, 2007

Krart (Latin typeface) at T26



my Krart (คราส) at T26 August 07

SMASHINGmagazine.com
80 Beautiful Typefaces For Professional Design (No. 67)
ไปมึนๆอยู่ได้ไงไม่รู้ :) ขอบคุณ แอนนนนน จาก f0nt.com ที่อุตสาห์เจอครับ :)

บทความเก่าเกี่ยวกับ คราส ตัวพิมพ์ไทย และแนวความคิดทั้งหมดเกี่ยวกับฟอนต์นี้

Saturday, August 4, 2007

Adobe Creative Hero @ ADAY mag

ADAY magazine
Volume 7 No.83 July 2007




Adobe Creative Hero

เอกลักษณ์ เพียรพนาเวช
กราฟิกดีไซน์และไทป์โปกราเฟอร์ ที่ฟอนต์ได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 10 ฟอนต์
ในโครงการประกวดผลงานสร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แต่งชาติ
(องค์กรมหาชน) ถึง 2 ครั้ง ด้วยฟอนต์ชื่อ 'KaniGa' (คณิกา) และ 'Krub' (ครับ)
รวมถึงยังมีผลงานกราฟิกเชิงทดลองอีกมากมายทำร่วมกับสมาคมฝรั่งเศส มูลนิธิญี่ปุ่น
และล่าสุดกับการดีไซน์โปสเตอร์และสูจิบัตรให้กับงานเวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 52
(Vanice Biennale #52) นิทรรศการศิลปะนานาชาติของศิลปินไทยที่จัดที่ประเทศอิตาลี

"งานกราฟิกแตกต่างจากงานออกแบบฟอนต์ เพราะกราฟิกยังต้องติดต่อกับลูกค้า
และพร้อมทีีจะเปลี่ยนแปลงงานให้เป็นไปตามโจทย์ที่ลูกค้าต้องการ
แต่งานฟอนต์เป็นงานที่ถูกคิดขึ้นจากตัวเราเองทั้งหมด ถ้าลูกค้าชอบสไตล์เราเขาก็ซื้อ
ถ้าลูกค้าไม่ชอบเขาก็ไม่ซื้อ มันเป็นงานที่ลูกค้าต้องยอมรับในตัวเรามากกว่า"

"แรงบัลดาลใจของผมเกิดจากสิ่งต่างๆรอบตัว ทั้งหนังสือ นิตยสาร ทีวี เว็บไซต์
และเหตุการณ์รอบตัว หนังสือที่ผมสนใจส่วนมากก็จะเป็นหนังสือเกี่ยวกับไทป์โปกราฟี
บางเล่มหนามากๆแต่ก็อ่านได้เรื่อยๆ เพราะรู้สึกว่ายิ่งอ่านแล้วยิ่งอยากรู้ และไม่ได้
รู้สึกเบื่อ เพราะเป็นงานที่เราทำแล้วมีความสุข"

"งานชิ้นที่ผมประทับใจในช่วงนี้ คืองานออกแบบการ์ดแต่งงานให้กับลุกค้า
ชาวฝรั่งเศส เนื่องจากเข้ามีเวลาให้เราได้ทดลองและให้อิสระในการออกแบบเต็มที่
ผมลองเอาด้ายสีแดงมาทำเป็นตัวอักษรบนการ์ดเพื่อสื่อถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
คนสองคน ถ้าอยู่ในงานดีไซน์อื่นๆ ผมว่าอันอาจจะไม่แปลกเท่าไหร่
แต่พอเอาวิธีนี้มาใช้กับการ์ดแต่งงาน มันก็เลยเป็นงานที่ไม่ซ้ำกับใคร"

"ชุดอักษรล่าสุดที่ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 10 ของการประกวดฟอนต์ที่จัดขึ้น
โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แต่งชาติ
(องค์กรมหาชน) ชื่อฟอนต์ว่า "ครับ" ลักษณะของ "ครับ" คือ ชุดตัวอักษรที่ใช้เป็น
ตัวเทกซ์ซึ่งมีลักษณะสุภาพ เรียบร้อย แหวกจากกฎการออกแบบตัวอักษรไทย
ที่ต้องมีหัวเพื่อให้อ่านง่าย ลักษณะเส้นก็จะเป็นเส้นที่สบายๆ ไม่เป็นเรขาคณิต
เหมือนลักษณะตัวอักษรไทยทั่วไป ผมว่ามันเป็นหนึ่งฟอนต์ที่มีคาแรกเตอร์
ชัดเจนและแตกต่างจากแบบตัวอักษรอื่นๆทำให้ได้รับคัดเลือก"

"งานส่วนใหญ่ของผมจะเน้นเรื่อง Emotional Design คือการใช้ความรู้สึก
ในงานออกแบบ เช่นเมื่อเราดูงานออกแบบหรือฟอนต์นั้นๆแล้วเรารู้สึกอะไร
ผมจะมองเรื่องของอารมณ์เป็นหลัก อย่างรถสองยี่ห้อที่อยู่ในประเภทเดียวกัน
แต่ทั้งสองก็มีอารมณ์ที่ให้ความรู้สึกไม่เหมือนกัน"

"นักออกแบบรุ่นใหม่บางคนไม่เข้าใจถึงกระบวนการคิดงานออกแบบที่แท้จริง
พอเห็นว่าสไตล์ไหนทำแล้วมีชื่อเสียงก็พากันทำแบบนั้นหมด โดยลืม
ความเป็นตัวของตัวเองไป เวลาผมสอนจึงพยายามเน้นในเรื่องกระบวนการ
การคิดและการทดลองโจทย์ในที่ผมสอนนักเรียนก็จะไม่ใช่โจทย์ที่ตรงไปตรงมา
ครั้งหนึ่งผมให้นักเรียนนำข่าวที่ได้จากหนัาหนังสือพิมพ์แล้วนำมาคิดต่อ
(เนื่องจากปีนั้นทุกคนหันมาเสพข่าวซึ่งมันเป้นเรื่องแปลกของสังคมที่อยู่ๆ
ก็มีรายการที่เอาหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่งมาอ่านให้ฟังกันอย่างมาก
แปลว่ามันต้องมีอะไร) เขาเอาเรื่องผู้หญิงคนหนึ่งฆ่าตัวตายเพราะ
แฟนไปต่างประเทศแล้วไม่ติดต่อมา แล้วก้มาคิดถึงความรู้สึกที่เค้าจับได้
กับเหตุการณ์นั้นว่าเป็นเป็นเรื่องทางจิต แล้วแปลออกมาเป็นโจทย์ว่า
จะออกแบบกราฟิกสำหรับบำบัดจิต ซึ่งมันเป็นคำตอบในแง่บวก
ซึ่งแต่ละโจทย์จะทำให้เด็กสนุกและอยากทำ เหมือนที่ไอน์สสไตล์พูด
เอาไว้ว่า เราไม่ได้สอนเขา แต่เราทำให้บรรยากาศสนุกที่จะอยากเรียนรู้"

"ผมว่าคุณสมบัติที่จำเป็นอีกอย่างสำหรับการเป็นนักออกแบบที่ดีคือ
ควรจะรู้เรื่องราวของประวัติศาสตร์ และเมื่อเราศึกษาดีๆแล้ว
ประวัติศาสตร์ศิลป์จะมีความเกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ทางสังคมด้วย
และถ้าเรารุ้เรื่องราวเหล่านี้ เราก็จะรู้ถึงที่มาที่ไปก่อนมาเป็น
งานออกแบบในปัจจุบัน ทำให้งานเราหนักแน่นขึ้น "