Saturday, August 4, 2007

Adobe Creative Hero @ ADAY mag

ADAY magazine
Volume 7 No.83 July 2007




Adobe Creative Hero

เอกลักษณ์ เพียรพนาเวช
กราฟิกดีไซน์และไทป์โปกราเฟอร์ ที่ฟอนต์ได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 10 ฟอนต์
ในโครงการประกวดผลงานสร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แต่งชาติ
(องค์กรมหาชน) ถึง 2 ครั้ง ด้วยฟอนต์ชื่อ 'KaniGa' (คณิกา) และ 'Krub' (ครับ)
รวมถึงยังมีผลงานกราฟิกเชิงทดลองอีกมากมายทำร่วมกับสมาคมฝรั่งเศส มูลนิธิญี่ปุ่น
และล่าสุดกับการดีไซน์โปสเตอร์และสูจิบัตรให้กับงานเวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 52
(Vanice Biennale #52) นิทรรศการศิลปะนานาชาติของศิลปินไทยที่จัดที่ประเทศอิตาลี

"งานกราฟิกแตกต่างจากงานออกแบบฟอนต์ เพราะกราฟิกยังต้องติดต่อกับลูกค้า
และพร้อมทีีจะเปลี่ยนแปลงงานให้เป็นไปตามโจทย์ที่ลูกค้าต้องการ
แต่งานฟอนต์เป็นงานที่ถูกคิดขึ้นจากตัวเราเองทั้งหมด ถ้าลูกค้าชอบสไตล์เราเขาก็ซื้อ
ถ้าลูกค้าไม่ชอบเขาก็ไม่ซื้อ มันเป็นงานที่ลูกค้าต้องยอมรับในตัวเรามากกว่า"

"แรงบัลดาลใจของผมเกิดจากสิ่งต่างๆรอบตัว ทั้งหนังสือ นิตยสาร ทีวี เว็บไซต์
และเหตุการณ์รอบตัว หนังสือที่ผมสนใจส่วนมากก็จะเป็นหนังสือเกี่ยวกับไทป์โปกราฟี
บางเล่มหนามากๆแต่ก็อ่านได้เรื่อยๆ เพราะรู้สึกว่ายิ่งอ่านแล้วยิ่งอยากรู้ และไม่ได้
รู้สึกเบื่อ เพราะเป็นงานที่เราทำแล้วมีความสุข"

"งานชิ้นที่ผมประทับใจในช่วงนี้ คืองานออกแบบการ์ดแต่งงานให้กับลุกค้า
ชาวฝรั่งเศส เนื่องจากเข้ามีเวลาให้เราได้ทดลองและให้อิสระในการออกแบบเต็มที่
ผมลองเอาด้ายสีแดงมาทำเป็นตัวอักษรบนการ์ดเพื่อสื่อถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
คนสองคน ถ้าอยู่ในงานดีไซน์อื่นๆ ผมว่าอันอาจจะไม่แปลกเท่าไหร่
แต่พอเอาวิธีนี้มาใช้กับการ์ดแต่งงาน มันก็เลยเป็นงานที่ไม่ซ้ำกับใคร"

"ชุดอักษรล่าสุดที่ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 10 ของการประกวดฟอนต์ที่จัดขึ้น
โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แต่งชาติ
(องค์กรมหาชน) ชื่อฟอนต์ว่า "ครับ" ลักษณะของ "ครับ" คือ ชุดตัวอักษรที่ใช้เป็น
ตัวเทกซ์ซึ่งมีลักษณะสุภาพ เรียบร้อย แหวกจากกฎการออกแบบตัวอักษรไทย
ที่ต้องมีหัวเพื่อให้อ่านง่าย ลักษณะเส้นก็จะเป็นเส้นที่สบายๆ ไม่เป็นเรขาคณิต
เหมือนลักษณะตัวอักษรไทยทั่วไป ผมว่ามันเป็นหนึ่งฟอนต์ที่มีคาแรกเตอร์
ชัดเจนและแตกต่างจากแบบตัวอักษรอื่นๆทำให้ได้รับคัดเลือก"

"งานส่วนใหญ่ของผมจะเน้นเรื่อง Emotional Design คือการใช้ความรู้สึก
ในงานออกแบบ เช่นเมื่อเราดูงานออกแบบหรือฟอนต์นั้นๆแล้วเรารู้สึกอะไร
ผมจะมองเรื่องของอารมณ์เป็นหลัก อย่างรถสองยี่ห้อที่อยู่ในประเภทเดียวกัน
แต่ทั้งสองก็มีอารมณ์ที่ให้ความรู้สึกไม่เหมือนกัน"

"นักออกแบบรุ่นใหม่บางคนไม่เข้าใจถึงกระบวนการคิดงานออกแบบที่แท้จริง
พอเห็นว่าสไตล์ไหนทำแล้วมีชื่อเสียงก็พากันทำแบบนั้นหมด โดยลืม
ความเป็นตัวของตัวเองไป เวลาผมสอนจึงพยายามเน้นในเรื่องกระบวนการ
การคิดและการทดลองโจทย์ในที่ผมสอนนักเรียนก็จะไม่ใช่โจทย์ที่ตรงไปตรงมา
ครั้งหนึ่งผมให้นักเรียนนำข่าวที่ได้จากหนัาหนังสือพิมพ์แล้วนำมาคิดต่อ
(เนื่องจากปีนั้นทุกคนหันมาเสพข่าวซึ่งมันเป้นเรื่องแปลกของสังคมที่อยู่ๆ
ก็มีรายการที่เอาหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่งมาอ่านให้ฟังกันอย่างมาก
แปลว่ามันต้องมีอะไร) เขาเอาเรื่องผู้หญิงคนหนึ่งฆ่าตัวตายเพราะ
แฟนไปต่างประเทศแล้วไม่ติดต่อมา แล้วก้มาคิดถึงความรู้สึกที่เค้าจับได้
กับเหตุการณ์นั้นว่าเป็นเป็นเรื่องทางจิต แล้วแปลออกมาเป็นโจทย์ว่า
จะออกแบบกราฟิกสำหรับบำบัดจิต ซึ่งมันเป็นคำตอบในแง่บวก
ซึ่งแต่ละโจทย์จะทำให้เด็กสนุกและอยากทำ เหมือนที่ไอน์สสไตล์พูด
เอาไว้ว่า เราไม่ได้สอนเขา แต่เราทำให้บรรยากาศสนุกที่จะอยากเรียนรู้"

"ผมว่าคุณสมบัติที่จำเป็นอีกอย่างสำหรับการเป็นนักออกแบบที่ดีคือ
ควรจะรู้เรื่องราวของประวัติศาสตร์ และเมื่อเราศึกษาดีๆแล้ว
ประวัติศาสตร์ศิลป์จะมีความเกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ทางสังคมด้วย
และถ้าเรารุ้เรื่องราวเหล่านี้ เราก็จะรู้ถึงที่มาที่ไปก่อนมาเป็น
งานออกแบบในปัจจุบัน ทำให้งานเราหนักแน่นขึ้น "

No comments: