T-Talk at TK park
T-Talk
เริ่มเรื่อง...ขนิ-โต
เรื่อง...สุวจี
ภาพ...Micky Noo
พลังของตัวอักษร
เมื่อโปรแกรม Microsoft Word ได้ถูกเปิดใช้งาน ตัวอักษร Angsana //
Cordia // Tahoma // Jasmine มักถูกพิมพ์ลงไปในเอกสารสีขาวนี้
ด้วยความคุ้นชินในการใช้ ทำให้เรามองข้ามศิลปะการออกแบบตัวออกไป
ในเมืองไทย “Type Design” หรือ ผู้สร้าง(สรรค์)แบบอักษร
จึงเป็นอาชีพที่ใครจะยึดเป็นอาชีพหลักได้
แต่อย่างไรก็ตามยังมีหลายคนที่รักและหลงใหลในมนต์เสน่ห์
ของการออกแบบตัวอักษร หนึ่งในนั้นคือ เอกลักษณ์ เพียรพนาเวช มีตัวอักษรที่ถูกเขาสร้างขึ้นมาหลายสิบตัวอักษร
ในโครงการประกวดผลงานสร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์
ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรม
ซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) 2 ใน 13 ตัวอักษรที่ได้รับรางวัล
เป็นงานออกแบบอักษรที่เอกลักษณ์เป็นผู้สร้าง
แบบอักษรร่วมสมัย ‘จามรมาน’ ออกแบบขึ้นจากอักษรตัวอาลักษณ์
และตั้งชื่อตาม ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน มีเอกลักษณ์อยู่ที่ลายเส้นลากยาวสะบัดออก
แบบอักษรนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศประกวดประเภทตัวพิเศษอาลักษณ์
รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
แบบอักษร ‘ครับ’ แหกกฎตัวอักษรไทยที่ต้องมีหัวเพื่อให้อ่านง่าย ๆ
แล้วถ้าไม่มีหัวล่ะ... ‘ครับ’ จึงออกมาเป็นหัวอักษรที่ไม่บรรจบ
แต่เป็นตัวอักษรที่สื่อถึงความสุภาพ เรียบร้อย
ครั้งแรกกับการก่อ‘ขบถ’
ตัวอักษรแรกผมใช้ชื่อว่า‘ขบถ’ เพราะต้องการจะรื้อวิธีคิด
กระบวนการของการออกแบบอักษร ก็เลยเสนอโครงการเป็น Thesis
แล้วผมชอบพวก Typography อยู่แล้วด้วย แต่ตอนนั้น‘ขบถ’เป็นงานทดลอง
ไม่ได้เน้นฟังชั่นในการใช้งานเท่าไหร่ แนวทางหรือกระบวนการที่ทำเหมือนหา
ระบบการสื่อสารอย่างหนึ่งขึ้นมาว่าอันไหนเกี่ยวข้องกัน
เพราะว่าตัวอักษรใช้ขึ้นมาเพื่อการสื่อสาร ก็เลยรู้ว่ามีอักษรของคนตาบอด เขามีประเด็นหรือการสื่อสารที่น่าสนใจ
ก็เลยเหมือนว่าจับเอาตัวกระบวนการคิดของเขามา
ทั้งอักษรเบรลล์และอักษรมูนมาสวมลงไปกับภาษาไทย
ตอนที่จัดแสดงงานมีคนมาเขียนแสดงความคิดเห็นเยอะมากครับ
มีทั้งนักศึกษาและยังมีคนทั่วไปด้วย
ซึ่งของเพื่อนคนอื่นจะถูกเขียนน้อยมาก
อาจเพราะตัวอักษรแตกต่างจากภาพประกอบ
ถึงแม้คุณจะไม่รู้เรื่องทฤษฎีต่าง ๆ
แต่ถ้าเป็นตัวอักษร มันเป็นสิ่งที่เราคุ้นชินในชีวิตประจำวัน
คุณสามารถดูแล้วบอกความรู้สึกได้ไม่ยาก
ผมว่าตัวอักษรมีความเป็นพลังอยู่พอสมควร
พยัญชนะไทย 44 ตัว ตัวไหนเป็นตัวแรก ๆ ที่มักใช้เป็นตัวเริ่มร่าง
ในการออกแบบตัวภาษาไทย จะเริ่มจากพยัญชนะตัว อ หรือ บ ก่อน
ส่วนพยัญชนะตัวที่มักจะทำท้าย ๆ จะเป็น ฐ ฑ พวกพยัญชนะที่ต้องมีเชิงครับ
การจัดแสดงนิทรรศการ ‘ตัวอักษร’ ในเมืองไทย
เคยมีงานของบริษัท SC Matchbox คุณประชา สุวีรานนท์
เขาทำ ‘10ตัวพิมพ์กับสังคมไทย’ งานนั้นผมว่าทำดีมาก
ผมว่าเป็นมากกว่าแค่การโชว์งานเพราะว่ามีเรื่องข้อมูล
เหมือนกับหนังสือเล่มหนึ่งของฝรั่งเขาจะมีหนังสือ Typography
ที่ไล่ลำดับตั้งแต่ระบบพิมพ์เข้ามา
เขาก็ใช้วิธีการคิดแบบนั้นเพื่อมาแบ่งยุคของไทยให้เกิดขึ้น 10 ยุค
ก็จะมี เช่น ตัวพิพม์ช่วงที่หมอบรัดเลย์เข้ามา
ก็จะมีว่าตัวพิมพ์ที่เกิดขึ้นตอนนั้นเป็นอย่างไร
หรือเป็นยุคหนึ่งที่ช่างศิลป์เขาวาดภาพโฆษณาภาพยนตร์กัน
งานนี้เกิดขึ้นประมาณ 3-4 ปีได้แล้ว เป็นงานที่คนให้ความสนใจมากพอสมควร ตอนนั้นไม่ได้จัดแค่ที่หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างเดียว
มีแสดงที่เชียงใหม่ ขอนแก่น แต่เสียดายที่ว่าไปได้แค่ไม่กี่ที่
ผมว่ายากเหมือนกันที่จะมีงานแสดงแบบนี้ออกมาอีก
จุดเริ่มต้นของนักสร้างสรรค์ตัวอักษร
ต้องเริ่มต้นจากความชอบ ถ้าไม่ชอบผมว่าเป็นเรื่องยากพอสมควรเลย
เป็นเรื่องของรายละเอียด เป็นเรื่องความชอบใน Typography ก่อน
แล้วก็ต้องมีความอึดพอสมควร มีความสนใจถึงจะต่อได้
เพราะว่าพอมีตรงนั้นแล้ว เขาก็จะพยายามค้นคว้าหาศึกษาเอง
หรือสำหรับคนที่อยากลองออกแบบตัวอักษร
ผมว่าง่ายที่สุดคือเริ่มจากลายมือตัวเอง
อย่างน้อยเราก็จะได้แบบอักษรลายมือที่เป็นของเราเอง
No comments:
Post a Comment