Saturday, March 10, 2007

Works of Jan Tschichold @ Japan mag



IDEA Magazine No.321 : Works of Jan Tschichold



นิตยสารญี่ปุ่น IDEA เล่มล่าสุด No.321
ได้ลงเกี่ยวกับงานของ Jan Tschichold 1902-74

Jan Tschichold คือ บุคคลหนึ่งในสถาบัน BAUHAUS
ที่มีผลต่องานออกแบบไทโปกราฟิคของโลก
เป็นผู้บุกเบิกงานในรูปแบบที่เรียกว่า "New Typography"
การนำตัวอักษรแบบไม่มีฐานเชิง (san serif typeface) มาใช้ กับ
หลักการวางแบบอสมมาตร (assymetric balance)
ผู้ที่เชื่อว่าการออกแบบต้องเน้นประโยชน์ใช้สอย (Functional Design)
ตัดส่ิงตกแต่งเพื่อเหลือเพียงแต่ประโยชน์ของการสื่อสารเท่านั้น
จนถูกเรียก งานออกแบบในรูปแบบใหม่นี้ว่า "Functionalism"

font ที่ Jan Tschichold ออกแบบ คือ
Transit (1931), Saskia (1931), Zeus (1931) และ Sabon™ (1967) ที่หลายคนรู้จัก

1933 เขาถูกนาซีจับ ข้อหาเป็นเผด็จการทางวัฒนธรรม
ซึ่งหลังจากปี 1940 จึงหันหลังให้กับงานรูปแบบ New Typography
มาใช้แบบดั้งเดิม (Classical) ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากงานยุคเรเนอซองค์ (Renaissance)
หันกลับมาใช้การวางแบบสมดุลแบบสมมาตร (Symetrical)
และนำตัวอักษรแบบมีฐาน (Serif typeface) กลับมาใช้ใหม่
เพื่อนำเสนอความมีคุณค่าและสะท้อนถึงความเป็นมนุษย์
ซึ่ง Sabon คือ ตัวอักษรที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นของ Jan Tschichold

(**Sabon Next คือ font ที่ Jean François Porchez
ทำให้เป็นตระกูลสำหรับ Linotype ในปี 2002**)

เนื้อหาในเล่มของ Idea mag. 321
[Contributed essays]

  • Robin Kinross, 'Designer and dogmatist'
  • Christopher Burke, 'Jan Tschichold and sanserif'
  • Martijn F. Le Coultre & Alston W. Purvis, 'Jan Tschichold: Posters of the Avantgarde'
  • Richard B. Doubleday, 'Jan Tschichold at Penguin Books: A Resurgence of Classical Book Design'
  • Jost Hochuli, 'Thoughts on the reception of Jan Tshichold's work and personality thirty years after his death'
  • Alexander L. Bieri, 'Jan Tschichold and Roche: obsessive perfection'
  • François Porchez, 'On Sabon Next Project'
  • Christopher Burke, 'Tschichold's eastward gaze'
  • Taro Yamamoto, 'Considering the Dispute between Jan Tschihold and Max Bill'
  • John D. Berry, 'Getting it right - Jan Tschichold's search for mass quality'

การให้ความสำคัญกับงานในอดิีต เพื่อที่จะหาแนวทางของงานในอนาคต
ที่เป็นตัวตนของตัวเอง ไม่ใช่เพียงแค่ลอกเลียนเพียงเปลือกคงเป็น -หน้าที่- ของนักออกแบบ


อยากให้นิตยสารไทยน่าจะมีเรื่องราวเกี่ยวกับ Typography บ้างจัง
เผื่อคนทั่วๆไปจะได้รับรู้และมองเห็นคุณค่าของ Typography เพ่ิมบ้าง