Wednesday, November 21, 2007

feel goood

คงได้พบเห็น ตัวอักษรคำว่า feel goood กันไป เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ไม่รู้ว่านอกจากคนในวงการออกแบบจะสัมผัสถึงความรู้สึกของมันได้แล้ว
คนทั่วไปจะรู้สึกบ้างมั๊ยว่า นอกจาก logo ใบพัดสีฟ้า กับคำว่า feel goood
ยังมีแบบตัวอักษรใหม่ที่ต่างไป

อ่านบทความจากนักเขียนจริงที่มีสาระดีๆได้ที่ รู้สึกได้ถึงความรู้สึกดี
ที่ Typographic Open Book (Thailand)


แบบร่างแรก เปรียบเทียบกันต้นแบบ

อีกหนึ่งงานที่ทำในนามคัดสรรดีมากพร้อมกระบวนการทำงานแบบเร่งด่วน
ซึ่งเร่งด่วนที่ว่านี้ คือ เกินปกติ เพราะแบบตัวอักษรชุดนี้ได้ ทำงานกันแบบ
เกือบจะตลอด 24 ชม. (ดีนะที่แบบตัวอักษรนี้ไม่ใช่ของ 7-11) จาก
นักออกแบบ 2 คน สลับกันคนละกะเวลา เหมือนพนักงานโรงงาน (นรก)
ทำให้อัพเด็ทเวอร์ชั่นกันจนถึงขั้นงงไปพักนึง v.1 / 1.5.2 / 3.2 / 5 /
8x / 11.5 / Vx / Vx2 นี่คือตัวอย่างบางส่วน เนื่องจากกรอบของเวลา
ในการเปิดตัวโปรเจคลับนี้


แบบร่างเปรียบเทียบ รูปแบบตัวอักษร และแนวทางพัฒนางานต่อ

แต่นั่นไม่ใช่เนื้อหาสาระของบทความนี้ ส่ิงหนึ่งที่น่าสนใจคือ
ก่อนที่โปรเจคนี้จะมาถึงมือคัดสรรดีมาก ทางครีเอทีฟจูซ\จีวัน
ได้ร่างแบบตัวอักษรขึ้นมาครบชุดแล้ว แต่โจทย์จริงที่ลูกค้าต้องการคือ
แบบตัวอักษรไทยที่อยู่บนโครงสร้างพื้นฐานการออกแบบของตัวอังกฤษ
ที่ ไมล์ นิวลิน ได้ออกแบบไว้สำหรับใช้ในองค์กรของเทเลนอร์ทั้งหมด
ซึ่งส่ิงที่ต้องทำมากกว่าการส่งแบบร่างคือ การนำเสนอรูปแบบตัวอักษรใหม่
่จากการถอดรหัสโครงสร้างของละตินต้นแบบ ในการมองของ
ไทปืดีไซน์เนอร์ เพื่อวิเคราะห์ให้กับผู้ที่ร่างต้นแบบตัวอักษรไทยเดิม
ได้เข้าใจ เห็นพร้อง และพอใจ เพราะร่างเดิมต้นแบบก็ไม่ได้มีปัญหาใน
เรื่องความงาม แต่ความต่างของ ไทป์ดีไซน์เนอร์ คือ รายละเอียด ตั้งแต่
สิ่งที่สำคัญทีสุดคือ ทิศทางโครงสร้าง สัณฐานของตัวอักษร และสิ่งอื่นๆ
ไม่ว่าจะเป็น ความหนาบางของเส้น จนไปถึงส่วนรายละเอียดอันเล็กน้อย
คือปลายจบของแต่ละตัวแต่ละโค้ง ซึ่งแต่ละน้ำหนักก็แตกต่างกันอีก
สิ่งเหล่านี้คือส่ิงที่นักออกแบบตัวอักษรต้องสัมผัสได้
เพราะเราทำงานอยู่กันมันทุกๆวัน


แบบร่างเปรียบเทียบความหนาของตัวอักษรในชุดปกติ

โปรเจคนี้จบลงด้วยความรู้สึกดีจริงๆ เนื่องจาก ความเข้าใจของทาง
เอเจนซี่ผู้ร่างต้นแบบ แม้จะแตกต่างจากเดิมไปอย่างมาก
บวกกับการนำแบบตัวอักษรนี้ไปใช้งานได้อย่างเหมาะสมลงตัว
งานที่ออกมาไม่รู้ว่าคนอื่นจะได้รับความรู้สึกอย่างไร
แต่ผมรู้สึกได้กับ feel goood... แม้ไม่ได้ใช่ DTAC :)

Sunday, November 18, 2007

อักขรศิลป์ ทรงพระเจริญ


typeface : KIN Gothic (2005) by ekaluck peanpanawate

เนื่องจากกลุ่มคณะวิชาศิลปกรรมศาสตร์ คณาจารย์ นักออกแบบ ศิลปิน
บริษัท สยามพิวรรธน์ และองค์กรเอกชนต่างๆได้ร่วมกันจัดโครงการอักขรศิลป์ ทรงพระเจริญ
ซึ่งเป็นโครงการออกแบบ และเผยแพร่อักขรศิลป์ ทรงพระเจริญ รูปแบบใหม่ เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ
แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา
และจะมีการรวบรวมผลงานอักขรศิลป์ ทรงพระเจริญ จากนักออกแบบและผู้ที่ส่งผลงานเข้าร่วม
เพื่อจัดแสดงในระหว่างวันที่ 14-17 ธันวาคม 2550 บริเวณ โถงชั้น 1 สยามดิสคอพเวอรี่เซ็นเตอร์
และผ่านเว็บไซต์ www.songpracharoen.org

อ่านข้อมูลเพ่ิมเติมที่ Gra+fiction Blog (อ.สันติ)

Friday, November 16, 2007

D.A.N.C.E.


อยู่ดีๆ เพื่อนหนิงก็ส่งมาให้ดู ไม่มีเหตุผลอะไร บอกแค่ว่า ฮาดี
เลยแบ่งคนอื่นด้วย แต่ไม่ได้รู้สึก 5า นะ แต่ก็สนุกดิ :)

Saturday, November 10, 2007

Everybody loves Shopping



ตั้งใจว่าจะไปซื้อ หนังสือ ประวัติศาสตร์กราฟิก
"Graphic Design A New History by Stephen F. Eskilson"
เนื่องจากถ้าเทียบกับ A History of Graphic Design by Philip Meggs
หรือ Meggs' History of Graphic Design by Philip B. Meggs, Alston W. Purvis
ยังไงเล่มนี้ก็ถูกจนน่าตกใจ ต้องไปเก็บไว้ให้ได้
บวกกับจะดูหนังสืออะไรอีกซักเล่ม 2 เล่ม เอาไว้ดูเล่นๆ

ผ่านไป 3-4 ชม. ที่ Asia book และ Kinokuniya @ Paragon

รู้สึกตัวอีกที ได้มา 6 เล่ม ตามที่เห็น
- AGI Graphic Design Since 1950, edited by Ben & Elly Bos
- Graphic Design A New History by Stephen F. Eskilson
- Contempory Graphic design by Charlotte & Peter Fiell
- CR Content
- Onehundred at 360ํ graphic design's new global generation
- Typographic Systems by Kimberly Elam

มือ 2 ข้างรู้สึกว่าถือหนังสืออกมาหนั๊กหนักจนตัวเอียง
แต่รู้สึกว่ากระเป๋าจะเบ๊าเบาไปเลย

คงเป็นแบบเดียวกับที่เวลา คนอื่นๆ ไปซื้อ เสื้อผ้า เครื่องสำอาง
เครื่องเสียง มือถือ iphone mp3 หรืออีก 108 ที่แต่ละคนจะสนใจ
สุดท้ายเนื้อหาก็เหมือนกันหมดคือ รู้สึกสุขใจประหลาดไปชั่วครู่ :)

What's " New Bitch! "


Art4d No.141 Sep. 07


4dFace

กับการพูดคุยกันครั้งแรกกับ Art4d หนังสือที่อ่านมาตลอดตั้งแต่สมัยยังเรียนอยู่
ตั้งแต่เล่ม สิบกว่าๆ จน ตอนนี้ เป้นเล่มที่ ร้อยสีสิบกว่า เวลาเดินทางเร็วจัง

ได้รับการติดต่อ จาก Art4d ถึง New Bitch ว่ามาจาก ฟอนต์คณิกา
ที่เคยชนะการประกวด 10 ตัวพิมพ์ในครั้งก่อนนู้น

ในส่วนบทความ
ถ้ามีการพาดพิงถึงผู้ใดเนื่องจากการสื่อสารที่ไม่ชัดเจน พูดคุยได้ส่วนตัวที่
msn: experimentk@hotmail.com

Wednesday, November 7, 2007

Psychogenic Needs : U needs

เราเคยมีเวลาได้นั่งทบทวนถึงตัวเองกันหรือเปล่าว่าแท้จริงแล้ว
เราต้องการอะไร

Henry Murray เฮนรี่ เมอเรย์ (1893-1988) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
ได้พัฒนาทฤษฎีบุคลิกภาพซึ่งอยู่ภายใต้ระบบ
แรงจูงใจ ความกดดัน และความต้องการ

เขาเชื่อว่า จิตวิทยาความต้องการ (Psychogenic Needs) เป็น ความต้องการที่อยู่ในระดับจิตไร้สำนึก
คือเป็นความต้องการที่แฝงอยุ่ลึกๆและพร้อมที่จะตอบสนองต่อสถานการณ์นั้นๆ

แบ่งได้เป็น 5 ประเภทใหญ่คือ

Ambition Needs
• Achievement - ความต้องการสัมฤทธิ์ผลต่ออุปสรรค
• Exhibition - ความต้องการแสดงตนให้เป็นที่สนใจของผู้อื่น
• Recognition - ความต้องการเป็นที่จดจำและเป็นยอมรับนับถือของสังคม
• Acquistion - ความต้องการอยากได้สิ่งที่ต้องการ เพื่อมาเป็นสมบัติหรือครอบครอง

Materialistic Needs
• Construction - ความต้องการสร้างสรรค์ พฤติกรรมซึ่งก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์
จากวัสดุต่างๆนำมาประดิษฐ์เป็นวัตถุสิ่งของที่ต้องกับความต้องการของบุคคล
• Order - ความต้องการเป็นระเบียบเรียบร้อย
• Retention - ความต้องการเก็บรักษา

Power Needs
• Abasement - ความต้องการเสียเกียรติ การยอมรับผิด
• Antonomy - ความต้องการอิสระในการปกครองตนเอง
• Aggression - ความต้องการการก้าวร้าวผู้อื่น มุ่งที่จะเอาชนะคนอื่น
• Blame Avoidance - ความต้องการหลีกเลี่ยงจากการตำหนิ และทำตามกฎระเบียบ
• Deference - ความต้องการเชื่อฟัง ยอมทำตามผู้ที่เหนือกว่า
• Dominance - ความต้องการที่จะควบคุมและบัญชาผู้อื่น

Affection Needs
• Affiliation - ความต้องการมีเพื่อนไมตรีจิตมิตรภาพ
• Nurturance - ความต้องการการดูแล เอาใจใส่จากบุคคลอื่น
• Play - ความต้องการเล่น พักผ่อนหย่อนใจ
• Rejection - ความต้องการแยกตัวออกจากผู้อื่น
• Succorance - ความต้องการการช่วยเหลือ การปกป้อง เห็นใจจากผู้อื่น

Information Needs
• Cognizance - ความต้องการอยากรู้อยากเห็น
• Exposition - ความต้องการคำชี้แจงอย่างละเอียด