Sunday, April 29, 2007

Kate Brand & Similar

ช่วงนี้ปวดหัวเกินกว่าจะทำงานได้ เลยคิดว่ามาเขียนอะไรผ่อนคลายดีกว่า
นึกไปนึกมาก็มีเรื่อง เลย์เอาท์ที่มีปัญหากับลูกค้า แต่คิดไปมา...อย่าดีกว่า
เลยนึกได้ว่า ได้เมล์จาก CR มาซักพักแล้ว เอาเรื่องนี้ก็แล้วกัน

LOGOTYPE ของ Kate Moss


designed by Peter Saville & Paul Barnes

Kate Moss: The Brand

เสื้อผ้ายี่ห้อแรกของเธอที่ทำกับ Topshop จะเริ่มเข้ามาในเดือนหน้า คนที่วาง
brand image ให้ Moss คือ Peter Saville โดยใช้ Typographer คือ Paul Barnes

Peter Saville (1955-) กราฟิกดีไซเนอร์ชาวอังกฤษ ซึ่งคนทั่วไปจะรู้จักได้จาก
งานปกเทป (สมัยนี้ต้องเรียก ปกซีดีแล้วสิ) ของ Joy Division, New Order
ที่ทำใหักับ Factory Records และลูกค้าอื่นๆที่ Saville ทำให้ คือ CNN, Adobe,
EMI, Givenchy, Stella McCartney, John Galliano, Yohji Yamamoto,
Christian Dior etc...
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หนังสือ Graphic Design Now / Taschen ที่หน้า 272
ถัดมาจาก Stefan Sagmeister ซึ่งคำนิยามของ Saville คือ "Do your best"
แต่งานที่ผมจำได้น่าจะเป็น ปกของ Suede / coming up album, 1996


art direction: Peter Saville
Photography: Nick Knight
Design: Howard Wakefield at the Apartment


Paul Barnes (1970-) กราฟิกดีไซเนอร์และไทโปกราเฟอร์ชาวอังกฤษ
เคยออกแบบตัวอักษรให้กับหนังสือพิมพ์ The Guardian ร่วมกับ Christian Schwartz
ในปี 1998 Peter Saville เรียกเขาว่า
"the best young British Graphic designer"
และในปี 2006 นิตยสาร Wallpaper ได้มีชื่อของเขาเป็นหนึ่งใน 40 นักออกแบบ
ที่มีอิทธิพลที่สุดที่อายุต่ำกว่า 40

Saville เล่าว่า Moss เป็นต้นแบบของสาววัยรุ่นซึ่งสามารถเข้าถึงได้และทุกคน
อยากเป็นอย่างเธอ ถึงแม้ว่าเธอไม่ใช่คนสวย, มีเสน่ห์ และเรียบร้อย
แ่ต่เธอก็เป็นนางแบบได้ซึ่งเป็นเรื่องมหัศจรรย์ในชีวิตของเธอ
เธอไม่เคยติเตียนอดีต แต่เธอพยายามที่จะก้าวต่อไป โดยขั้นต่อไปคือ
ทำให้แบรนด์ของเธอเป็นจริงขึ้นมา

Saville ทดลองใช้ลายเซ็นต์ของ Moss เป็นแบบแต่ก็เลิกไป
และได้ปรึกษากับ Branes เรื่อง fonts เขาให้คำแนะนำที่ดีเรื่องตัวอักษรและ
เข้าใจถึงปัญหาของเรา เค้าบอกว่า Kate เป็นคำที่ทำได้ง่ายมาก
มี fonts หลายตัวที่ใช้ได้ดี แต่ Moss นี่สิที่ทำยาก

Barnes เสนอความหลากหลายของ Brodovitch Albro แบบอักษรของ
Alexey Brodovitch ผู้ซึ่งเป็น Art Director ของ Harper's Bazaar 1934-58



Saville เล่าว่า เขาเอาแคตตาลอคเก่าๆมาค้นหาตัวใหม่และ
คิดว่าน่าจะใช้อะไรบางอย่างได้ โดยลองเขียนคำเล่นๆ แต่ตัวอักษรคำว่า
Kate Moss รวมกันได้ลงตัว มันเริ่มเป็นรูปเป็นร่างและทันสมัย
ถ้าตัวหนังสือเล่นหางอีกหน่อยจะดูทันสมัยยิ่งขึ้นเพราะ
คล้ายๆกับทรงเลขาคณิต ให้ความรู้สึกที่ทันสมัยมากขึ้น
แต่ยังคงรูปแบบเดิมไว้

Moss เข้ามามีส่วนร่วมทุกขั้นตอนจนเสร็จ เมื่อ Saville โชว์งานให้เธอเลือก
20 แบบในที่ประชุมโดยนำเสนอในรูปแบบของ paparazzi lifestyle เป็น
รูปช่างภาพ 2 คนกำลังยืนสูบบุหรี่ข้างนอกหน้าต่างสำนักงานของ storm
ซึ่งลงหน้าหนึ่งในหนังสือซุบซิบของฝรั่งเศส พาดหัวว่า ใครคือผู้ชายลึกลับคนใหม่
ของ Moss การประชุมไม่ค่อยลาบลื่นนักเพราะการนำเสนออาจจะดูก้าวร้าว
แต่ Moss ก็ตกลงเห็นด้วยกับความคิดของ designer ถึงแม้จะไม่ค่อยชอบเท่าไหร่
Saville เสนอแบบ fonts ทั้งหมดต่อ Kate และเมื่อเธอเปิดดู เธอบอกว่า
"อันนี้แหละที่ฉันต้องการ"

แปลคร่าวๆจาก CreativeReviewBlogอ่านต่อได้ที่นี่


อาจจะมีหลาย comment ที่ไม่ชอบกับ logo ตัวนี้ใน blog ของ CR
บ้างว่าเหมือน งานที่ Paul Barnes เคยทำให้กับ Bjork ในชุด pagan poetry


cover album Pagan Poetry by Paul Barnes

บางทีสิ่งที่เราคิดว่าคล้ายหรือเหมือน มันอาจจะไม่เหมือนก็ได้
คำว่า Kate moss ที่พิมพ์ด้วย font Pagan ของ Barnes ที่ใช้ในงานของ Bjork
คิดว่าไม่เหมือนนะ :) ขนาดตัวอักษรที่มีบุคลิกขนาดนี้ฝรั่งยังจำไม่ได้
คงไม่ต้องให้แยกแยะ Helvetica กับ Arial

Kate moss word by Pagan font

ว่าไปแล้ว งาน bjork /Medulla 2004 ที่ M/M Paris ทำยังคล้ายกับ
โปสเตอร์ Tropical Malady (สัตว์ประหลาด) ของพี่เจ้ย อภิชาตพงษ์ มากกว่าอีก


designed by M/M Paris

แต่ถ้าเรามองอีกมุม แล้วคิดว่าตัวอักษรนี้มันก็เหมือนกับ
Times, Helvetica, Gill San, DIN หรืออื่นๆที่เห็นใช้กันอยู่ในหลายๆงาน
เพียงแค่มันถูกเลือกใช้ตอบโจทย์ในแต่ละงานได้ครบถ้วน
คงไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าเราจะหยิบมันกลับมาใช้อีกครั้ง

Monday, April 16, 2007

Show Me Thai @ MOT, Japan

designed by Practical + B513DS!GN / Apr. 2007



SHOW ME THAI
Contemporary art exhibition.
On the 120th anniversary of Japan-Thailand
diplomatic relations at MOT, Tokyo, Japan

18.04-20.05.07 at MUSEUM OF CONTEMPORARY ART TOKYO

ไอเดียจุดๆ แล้วมา collaboration ระหว่าง form ธงไทยกับญี่ปุ่น
มาจาก พี่ติ๊ก อ.สันติ ลอรัชวี จาก ภาคปฏิบัติ (Practical)
แต่ทำไปทำมาเริ่มสนุกมือเลยทอลายผ้าไทยไปบนจุดอีกชั้นหนึ่ง
อยากให้พื้นและวงกลมมีส่วนเชื่อมต่อกันด้วย
เป็นการสานสัมพันธ์เข้าไปอีกชั้น :)


LOGOTYPE
กำลังทำ ตัวอักษรอยู่ชุดหนึ่งพอดี เห็นว่าเข้ากับงานนี้้ใช้ได้
มีความเป็น เอเชีย วิถีแบบธรรมชาติ เลยเอามาใช้
บวกกับ ligature ที่ตัวอักษรซะหน่อยให้มีบุคลิกให้จดจำ
ญี่ปุ่นขอให้เพิ่มตราประทับสีฟ้าด้านหลังไม่รู้คืออะไร
เหมือนเป็นการ แสตมป์ตราประทับอะไรซักอย่าง


icon for exhibition
ลองทำเล่นๆตอนคิดโปสเตอร์ เห็นว่ามีความเป็นญี่ปุ่นในสัญลักษณ์ไทยดี
เลยแอบเอาไปวางตรงแผนที่ทางไปพิพิธภัณฑ์
สุดท้าย ทาง MOT ที่ญี่ปุ่นชอบ ขอให้ลงในโปสเตอร์ด้วยเลย :)
บอกว่ามันเป็นสัญลักษณ์ให้จดจำงานนี้ได้ง่ายดี อืม ดีๆ เห็นด้วย 5 5 5

T-Talk at TK park



T-Talk
เริ่มเรื่อง...ขนิ-โต
เรื่อง...สุวจี

ภาพ...Micky Noo


พลังของตัวอักษร

เมื่อโปรแกรม Microsoft Word ได้ถูกเปิดใช้งาน ตัวอักษร Angsana //
Cordia // Tahoma // Jasmine มักถูกพิมพ์ลงไปในเอกสารสีขาวนี้
ด้วยความคุ้นชินในการใช้ ทำให้เรามองข้ามศิลปะการออกแบบตัวออกไป
ในเมืองไทย “Type Design” หรือ ผู้สร้าง(สรรค์)แบบอักษร
จึงเป็นอาชีพที่ใครจะยึดเป็นอาชีพหลักได้
แต่อย่างไรก็ตามยังมีหลายคนที่รักและหลงใหลในมนต์เสน่ห์
ของการออกแบบตัวอักษร หนึ่งในนั้นคือ เอกลักษณ์ เพียรพนาเวช มีตัวอักษรที่ถูกเขาสร้างขึ้นมาหลายสิบตัวอักษร

ในโครงการประกวดผลงานสร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์
ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรม
ซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) 2 ใน 13 ตัวอักษรที่ได้รับรางวัล
เป็นงานออกแบบอักษรที่เอกลักษณ์เป็นผู้สร้าง



แบบอักษรร่วมสมัย ‘จามรมาน’ ออกแบบขึ้นจากอักษรตัวอาลักษณ์
และตั้งชื่อตาม ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน มีเอกลักษณ์อยู่ที่ลายเส้นลากยาวสะบัดออก
แบบอักษรนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศประกวดประเภทตัวพิเศษอาลักษณ์
รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

แบบอักษร ‘ครับ’ แหกกฎตัวอักษรไทยที่ต้องมีหัวเพื่อให้อ่านง่าย ๆ
แล้วถ้าไม่มีหัวล่ะ... ‘ครับ’ จึงออกมาเป็นหัวอักษรที่ไม่บรรจบ
แต่เป็นตัวอักษรที่สื่อถึงความสุภาพ เรียบร้อย

ครั้งแรกกับการก่อ‘ขบถ’



ตัวอักษรแรกผมใช้ชื่อว่า‘ขบถ’ เพราะต้องการจะรื้อวิธีคิด
กระบวนการของการออกแบบอักษร ก็เลยเสนอโครงการเป็น Thesis
แล้วผมชอบพวก Typography อยู่แล้วด้วย แต่ตอนนั้น‘ขบถ’เป็นงานทดลอง
ไม่ได้เน้นฟังชั่นในการใช้งานเท่าไหร่ แนวทางหรือกระบวนการที่ทำเหมือนหา
ระบบการสื่อสารอย่างหนึ่งขึ้นมาว่าอันไหนเกี่ยวข้องกัน
เพราะว่าตัวอักษรใช้ขึ้นมาเพื่อการสื่อสาร ก็เลยรู้ว่ามีอักษรของคนตาบอด เขามีประเด็นหรือการสื่อสารที่น่าสนใจ
ก็เลยเหมือนว่าจับเอาตัวกระบวนการคิดของเขามา
ทั้งอักษรเบรลล์และอักษรมูนมาสวมลงไปกับภาษาไทย
ตอนที่จัดแสดงงานมีคนมาเขียนแสดงความคิดเห็นเยอะมากครับ
มีทั้งนักศึกษาและยังมีคนทั่วไปด้วย
ซึ่งของเพื่อนคนอื่นจะถูกเขียนน้อยมาก
อาจเพราะตัวอักษรแตกต่างจากภาพประกอบ
ถึงแม้คุณจะไม่รู้เรื่องทฤษฎีต่าง ๆ
แต่ถ้าเป็นตัวอักษร มันเป็นสิ่งที่เราคุ้นชินในชีวิตประจำวัน
คุณสามารถดูแล้วบอกความรู้สึกได้ไม่ยาก
ผมว่าตัวอักษรมีความเป็นพลังอยู่พอสมควร

พยัญชนะไทย 44 ตัว ตัวไหนเป็นตัวแรก ๆ ที่มักใช้เป็นตัวเริ่มร่าง

ในการออกแบบตัวภาษาไทย จะเริ่มจากพยัญชนะตัว อ หรือ บ ก่อน
ส่วนพยัญชนะตัวที่มักจะทำท้าย ๆ จะเป็น ฐ ฑ พวกพยัญชนะที่ต้องมีเชิงครับ

การจัดแสดงนิทรรศการ ‘ตัวอักษร’ ในเมืองไทย

เคยมีงานของบริษัท SC Matchbox คุณประชา สุวีรานนท์
เขาทำ ‘10ตัวพิมพ์กับสังคมไทย’ งานนั้นผมว่าทำดีมาก
ผมว่าเป็นมากกว่าแค่การโชว์งานเพราะว่ามีเรื่องข้อมูล
เหมือนกับหนังสือเล่มหนึ่งของฝรั่งเขาจะมีหนังสือ Typography
ที่ไล่ลำดับตั้งแต่ระบบพิมพ์เข้ามา
เขาก็ใช้วิธีการคิดแบบนั้นเพื่อมาแบ่งยุคของไทยให้เกิดขึ้น 10 ยุค
ก็จะมี เช่น ตัวพิพม์ช่วงที่หมอบรัดเลย์เข้ามา
ก็จะมีว่าตัวพิมพ์ที่เกิดขึ้นตอนนั้นเป็นอย่างไร
หรือเป็นยุคหนึ่งที่ช่างศิลป์เขาวาดภาพโฆษณาภาพยนตร์กัน
งานนี้เกิดขึ้นประมาณ 3-4 ปีได้แล้ว เป็นงานที่คนให้ความสนใจมากพอสมควร ตอนนั้นไม่ได้จัดแค่ที่หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างเดียว
มีแสดงที่เชียงใหม่ ขอนแก่น แต่เสียดายที่ว่าไปได้แค่ไม่กี่ที่
ผมว่ายากเหมือนกันที่จะมีงานแสดงแบบนี้ออกมาอีก


จุดเริ่มต้นของนักสร้างสรรค์ตัวอักษร

ต้องเริ่มต้นจากความชอบ ถ้าไม่ชอบผมว่าเป็นเรื่องยากพอสมควรเลย
เป็นเรื่องของรายละเอียด เป็นเรื่องความชอบใน Typography ก่อน
แล้วก็ต้องมีความอึดพอสมควร มีความสนใจถึงจะต่อได้
เพราะว่าพอมีตรงนั้นแล้ว เขาก็จะพยายามค้นคว้าหาศึกษาเอง
หรือสำหรับคนที่อยากลองออกแบบตัวอักษร
ผมว่าง่ายที่สุดคือเริ่มจากลายมือตัวเอง
อย่างน้อยเราก็จะได้แบบอักษรลายมือที่เป็นของเราเอง

Wednesday, April 11, 2007

xx censor-Thai xx

ช่วงนี้งานยุ่งเกินไม่มีเวลาขยับบล๊อกเลย
เอาข่าวมาแป๊ะให้ไปอ่านแล้วกัน
อาจจะนอกเรื่อง แต่ถ้ามองโปสเตอร์ดีๆ
จะเห็นงานไทโปดีๆในโปสเตอร์ของพี่เจ้ยทุกเรื่องนะ
ชิ้นนี้ชอบตรงมันมองเห้นไทโปไม่ชัดดีอะ 555
ได้ยินว่า โอ จาก goodcitizen จะไปคนออกแบบนะ



เรื่องราววุ่นๆเกี่ยวกับ
แสงศตวรรษ ของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล
Syndromes and a Century

A Century blog

งดฉายหนัง ‘แสงศตวรรษ’

"เจ้ย" ไม่หั่น "แสงศตวรรษ" กองเซ็นเซอร์เล่นแง่ ไม่ตัดไม่คืนฟิล์ม
โดย ผู้จัดการออนไลน์


ขอเชิญร่วมลงชื่อและแสดงความคิดเห็นที่ท่านมีต่อระบบการเซ็นเซอร์ไทย โดยมีภาพยนตร์เรื่องแสงศตวรรษเป็นกรณีศึกษา

เอาลิงค์ไปตามอ่านกันเองแล้วกัน ไม่มีเวลาแสดงความคิดเห็น

แล้วถ้า ฟอนต์ (ลูกชาย/สาวของเรา) ถูกเอาไปตัดต่อบ้างละ จะรู้สึกเหมือนกันมั๊ย

.............................................................................................................................

เพ่ิ่มเติม 16.04.07
พึงมีคนส่งเมล์มาให้เพิ่มเติม (ไม่รู้ว่าใคร โทษทีนะครับ) เลยได้ mail เพิ่มมาอีกอัน
เป็นฉากที่ถูกพาดพิงพร้อมราบละเอียด เชิญชม..
Filmsickblog ดูหนังอย่างคนป่วย
.............................................................................................................................

เพิ่มเติมอีกรอบ 17.04.07
Free Thai Cinema Movement สำหรับคนสนใจร่วมลงชื่อ

ลงไปเมื่อวันที่ 17 ตอนตีหนึ่งกว่าๆ เป็นคนที่ 2154
สายๆมาอัพเดท โห เพิ่มมาอีกกว่า ห้าร้อยคนแล้ว จะไปสุดที่เท่าไหร่เนี้ย
.............................................................................................................................

Friday, April 6, 2007

The Suspended Moment Exhibition

designed by B513DS!GN / july 2006




The Suspended Moment
ห้วงเวลาที่หยุดนิ่ง


ร่วมกันรั่งเวลาในโลกที่หมุนเร็วขึ้นทุกวัน
ผ่านศิลปะร่วมสมัยนานาชาติจากยุโรปและไทย

งานกว่า 40 ชิ้น โดย 13 ศิลปิน สัญจรแสดงใน
ฝรั่งเศส, สเปน, เบลเยี่ยม และฮอลแลนด์ แวะกรุงเทพฯ
เพื่อแสดงร่วมกับ 6 ศิลปินไทย

Curators :
-Hilde Teerlinck
Director of Crac Alsace, France and curator for H&F Collection
-Sayan Daengklom
Lecturer of the Department of Art History, Faculty of Archeology, Silpakorn University

at :
PSG Art Gallery
Tadu Contemporary Art
100 Tonson Gallery

Porntaweesak's Exhibition

designed by B513DS!GN / Sep. 2006




Porntaweesak's Exhibition
September 7 - Octorber 29, 2006
100 Tonson Gallery